ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 160
[อธิบายอุปมาวิถีวิติ]
0
ได้ยินว่า บุรุษคนหนึ่ง นอนคลุมตัวตลอดศีรษะอยู่ที่โคนต้น
มะม่วงที่มีผล ตื่นขึ้นด้วยเสียงมะม่วงผล ๑ ซึ่งหล่นลงในที่ใกล้ๆ
เลิกผ้าออกจากศีรษะ ลืมตาขึ้นเห็นแล้วเก็บมะม่วงนั้นมา บีบดูแล้ว
ดมกลิ่น รู้ว่าเป็นมะม่วงสุก จึงรับประทานกลืนมะม่วงที่อยู่ในปากเข้า
ไปพร้อมทั้งเสมหะ แล้วนอนหลับไปในที่นั้นนั่นแลอีก ฯ
៩
ฯ บรรดากาล
ทั้ง ๕ มีกาลนอนกเป็นต้นนั้น เวลาของภวังค์ เหมือนเวลาที่
บุรุษนั้นนอนหลับฯ เวลาที่อารมณ์กระทบที่ประสาท เหมือนเวลาที่
ผลมะม่วงหล่น ฯ เวลาแห่งอาวัชชนะ เหมือนเวลาที่ตื่นขึ้นด้วย
เสียมะม่วงหล่น ฯ เวลาจักขุวิญญาณเป็นไป เหมือนเวลาที่ลืมตาขึ้น
มองดูฯ เวลาแห่งสัมปฏิจฉันนะ เหมือนเวลาเก็บ (ผลมะม่วง)ฯ
เวลาแห่งสันตีรณะ เหมือนเวลาบีบดูๆ เวลารับประทาน ฯ เวลาแห่ง
ตทาลัมพนะ เหมือนเวลากลืนมะม่วงที่อยู่ในปากเข้าไปพร้อมกับ
เสมหะ ฯ เวลาแห่งภวังค์ใหม่ ก็เหมือนเวลานอนหลับอีก ฯ ก็ด้วย
ๆ
อุปมานี้ ท่านแสดงอรรถชาตอะไรไว้ฯ ท่านแสดงความที่ธรรม
ทั้งหลายไม่ปะปนกันและกันด้วยอำนาจแห่งกิจอย่างนี้ คือ เพียงการ
กระทบที่ประสาทเท่านั้น เป็นกิจของอารมณ์ ฯ เพียงการรำพึงถึง
อารมณ์เท่านั้น เป็นกิจของอาวัชชนะ ฯ เพียงแต่การเห็นเท่านั้น เป็น
กิจของจักขุวิญญาณ ฯ และเพียงแต่การรับเป็นต้นเท่านั้น เป็นกิจของ
สัมปฏิจฉันนะเป็นต้นๆ ส่วนการเสวยรสแห่งอารมณ์ เป็นกิจของชวนะ
อย่างเดียว ฯ และการเสวนรสแห่งอารมณ์ที่ชวนะนั้นเสวยแล้วนั่นแล