ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 328
หมายเอาธรรมเหล่าอื่น เหตุที่ว่ามานี้เป็นเหตุแห่งการแสดงอินทรีย์
เหล่านั้นตามลำดับ เพราะฉะนั้น จึงควรพอกันทีไม่ควรจะชักช้าเกินไป ฯ
กำลัง ๓ มีศรัทธาเป็นต้น ชื่อว่าพละ โดยอรรถว่า ไม่หวั่นไหว
แต่ธรรมที่เป็นข้าศึก กล่าวคือความไม่มีศรัทธา ความเกียจคร้าน
ความประมาท ความฟุ้งซ่าน ความไม่รู้ ความไม่ละอาย และความไม่กลัว
บาปและเพราะเป็นธรรมชาตมั่นคงในสัมปยุตธรรมทั้งหลาย ฯ แต่อหิริกะ
และอโนตตัปปะทั้ง ๒ ชื่อว่าพละ (ในพละ ๕ อย่าง) เพราะเป็นธรรม
ชาตมั่นคงในสัมปยุตธรรมอย่างเดียว ฯ ธรรมซึ่งคุ้มกันแก่ธรรมที่เป็น
ไปเนื่องกับตน ชื่อว่าอธิบดีฯ จริงอยู่ ธรรมมีฉันทะเป็นต้น ในจิต
ที่เกิดขึ้น ได้อุปนิสัยปรุงแต่งเบื้องต้นมีอาทิว่า ขึ้นชื่อว่าอะไรจะไม่
สำเร็จแก่คนผู้มีฉันทะ ดังนี้ เป็นธุรการเป็นไปให้สัมปยุตธรรมสำเร็จ
โดยตนเองฯ ก็สัมปยุตธรรมเหล่านั้นย่อมดำเนินไปด้วยอำนาจแห่ง
ฉันทะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น ฉันทะเป็นต้นนั้น จึงเป็นไปแก่กรรม
ที่เนื่องกับตนโดยเป็นใหญ่ ฯ อธิบดีและอินทรีย์มีความแปลกกันอย่างนี้
คือความเป็นใหญ่ด้วยอำนาจห้ามความที่อธิบดีธรรมเหล่าอื่นเป็นอธิบดี
เสียได้ ชื่อว่าอธิบดีฯ เมื่ออินทรีย์อย่างอื่นทั้งหลาย แม้มีอยู่ เพียง
การทำให้จักขุวิญญาณเป็นต้นคล้อยตามไป ในกิจมีการเห็นเป็นต้นอย่าง
เดียวเท่านั้น ชื่อว่าอินทรีย์ ฯ
[อธิบายอาหาร]
ธรรมที่ชื่อว่าอาหาร เพราะอรรถว่า นำรูปที่มีโอชะเป็นที่ 4
เป็นต้นมา ฯ จริงอยู่ กวฬิการาหารย่อมนำรูปมีโอชะเป็นที่ 8 มาฯ