ศึกษาเจตสิกธรรมในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 82
หน้าที่ 82 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงเจตสิกธรรมว่ามีความสัมพันธ์กับจิตและรูปธรรมอย่างไร โดยเน้นการเกิดและดับร่วมกันในที่เดียวกัน รวมถึงหลักการทางภูมิศาสตร์ของธรรมที่มีลักษณะเฉพาะ คำว่า เอกนิโรธ และ เอกวัตถุ รวมไปถึงเสน่ห์ของผัสสะในอารมณ์และอาการที่เป็นไปได้ โดยยกตัวอย่างในการรับรู้ของมนุษย์

หัวข้อประเด็น

- เจตสิกธรรม
- จิตและรูปธรรม
- เอกนิโรธ
- อภิธัมมัตถสังคหบาลี
- ผัสสะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 82 เจตสิกธรรมทั้งหลาย ถ้าอธิบายว่า ประกอบด้วยจิต ด้วยสักว่า บังเกิดขึ้นในที่เดียวกันเท่านั้นไซร้ ความที่แม้รูปธรรมทั้งหลายที่เกิด พร้อมกับจิตในขณะนั้น ก็จะพลอยชื่อว่า ประกอบกับจิตไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงเพิ่ม เอกนิโรธ ศัพท์เข้าด้วย ฯ ถึงแม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ๆ (คือประกอบด้วยลักษณะ ๒ เกิดดับร่วมกัน) บัณฑิตไม่อาจห้ามความ พ้องกันของ ๒ วิญญัติ (กายวิญญัติ วจีวิญญัติ) ที่ปริวัตรตมจิต ทั้ง ไม่อาจห้ามความพ้องกันแห่งรูปธรรมทั้งหลาย แม้เกิดก่อนแล้วดับอยู่ หรือความดับในที่เดียวกัน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกุปปาทนิโรธ เพราะฉะนั้น จึงเพิ่ม เอกาลัมพน ศัพท์ เข้าด้วย ฯ และเพื่อจะ แสดงว่า ธรรมที่มีลักษณะ ๓ อย่าง อย่างนี้ โดยนิยมเฉพาะ ที่มีวัตถุ อันเดียวกันเท่านั้น จึงเพิ่ม เอกวัตถุ ศัพท์ เข้าด้วยดังนี้แล ฯ พอที่ ไม่ควรจะชักข้าเกิดไป ฯ [อธิบายอัญญาสมานาเจตสิก] મૈં ๆ บทว่า กå เป็นคำถามที่เป็นไปโดยความเป็นใคร่เพื่อจะกล่าว สรุป (ธรรม ๕๒) และอาการคือสัมประโยค (ที่ท่านกล่าวไว้ในคำว่า ประกอบกับจิต) ฯ ธรรมที่ชื่อว่า ผัสสะ ด้วยอรรถว่าถูกต้อง ๆ ผัสสะ นี้นั้น มีการถูกต้องเป็นลักษณะ ฯ แท้จริง ผัสสะนี้แม้เป็นอรูปธรรม ก็เป็นไปโดยอาการถูกตองอารมณ์ได้เท่านั้น แต่ความเป็นไปโดยอาการ ถูกต้องแห่งผัสสะนั้น จึงเห็นตัวอย่าง เช่น คนอื่นมองดูคนรับประทาน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More