อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 323
หน้าที่ 323 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้มีการเจาะลึกเรื่องอนุสัยและกิเลสตามหลักอภิธรรมของพุทธศาสนา โดยอธิบายความหมาย และความสัมพันธ์ของอนุสัยกับกิเลส รวมถึงลักษณะต่าง ๆ ของอาสวะและนีวรณ์ เห็นถึงความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติของจิตและสิ่งที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในวัฏฏะ การทำให้จิตเป็นอิสระจากกิเลส ด้วยการพัฒนาศีลและพรต

หัวข้อประเด็น

-อนุสัย
-กิเลส
-อภิธรรม
-พุทธศาสนา
-ศึกษาเรื่องจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 323 โดยอรรถว่า ยังละไม่ได้ ชื่อว่าอนุสัย ฯ ก็การถึงกำลังแรงเป็นสภาพ แผนกหนึ่งต่างหาก แห่งกิเลสมีกามราคะเป็นต้นเท่านั้น ไม่ทั่วไปแก่ กิเลสอื่น เพราะฉะนั้น ควรพอกันทีด้วยการโต้เถียง ฯ อนุสัยคือกาม ราคะ ชื่อว่ากามราคานุสัย ฯ [อธิบายสัญโญชน์] ન ธรรมที่ชื่อว่าสัญโญชน์ เพราะอรรถว่า ผูกโยง คือผูกมัด (เหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ) ฯ ธรรมที่ชื่อว่ากิเลส เพราะอรรถว่า เป็น เครื่องเศร้าหมองจิต คือเพราะอรรถว่า เป็นเครื่องเดือนร้อน หรือ รบกวนจิต ฯ บทว่า กามภวนาเมน คือ โดยชื่อแห่งอาลัมพนะ กล่าวคือ กามภพ ฯ บทว่า ตถาปวตฺติ คือ ที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการยึดถือ ศีลและพรตเป็นต้น โดยประการอย่างอื่น ๆ อาสวะ โอฆะ โยคะ และคันถะ มีอย่างละ ๓ โดยวัตถุ คือ โดยธรรม ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ อุปาทานก็ตรัสไว้ ๒ อย่าง เช่นนั้น (คือโดยวัตถุ) ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ นีวรณ์มี 4 เพราะแยกถนะและมิทธะ อุทธัจจะและกุกกุจจะ ออกเป็นแผนกหนึ่งๆ อนุสัย มีเพียง 5 เท่านั้น เพราะรวมกามราคานุสัยและภวราคานุสัยเข้า เป็นอันเดียวกัน โดยเป็นตัวตัณหาฯ สัญโญชน์ท่านกล่าวไว้ ๕ อย่าง เพราะรวมสัญโญชน์ที่เป็นตัวตัณหาและเป็นตัวทิฏฐิ ซึ่งตรัสไว้ในพระ สูตรและพระอภิธรรมทั้ง ๒ เข้าเป็นอย่างหนึ่ง ๆ ๆ ส่วนกิเลสมี ๑๐ ๑. โยชนาประสงค์ความว่า คือ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More