ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 127
บทว่า ตตฺถ เชื่อมความว่า บรรดาทวารมีจักขุทวารเป็นต้น
เหล่านั้น จิต ๔๖ ย่อมเกิดขึ้นในจักขุทวารตามสมควร ฯ จิต ๔๖ คือ
ปัญจทวาราวัชชนะ ๑ จักขุวิญญาณเป็นต้น ๓ ด้วยอำนาจแห่งวิบากทั้ง
๒ โวฏฐัพพนะ ๑ กามาวจรชวนะ ๒๕ ด้วยอำนาจแห่งกุศลจิต อกุศล
จิต และกิริยาจิต ที่เว้นจากอาวัชชนะ และตทาลัมพนะ ๘ โดยการถือ
เอาตทาลัมพนะที่ยังมิได้ถือเอาๆ บทว่า ยถารห์ ความว่า ด้วยอำนาจ
อนุรูปแห่อารมณ์มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
และไม่แยบคาย และสันดานที่ปราศจากอนุสัยเป็นต้นฯ บทว่า
สพฺพถาปิ มีวาจาประกอบว่า จิต ๕๔ เป็นกามาวจรเท่านั้น แม้โดย
ประการทั้งปวง มีอาวัชชนะเป็นต้น และมีตทาลัมพนะเป็นที่สุดฯ
เชื่อมความว่า จิต ๕๔ (เกิดขึ้นแล้ว) แม้โดยประการทั้งปวง ฯ
อธิบายว่า จิต ๕๔ แม้โดยประการทั้งปวง ตั้งอยู่แล้วด้วยอำนาจแห่ง
จิตที่เป็นไปในทวารนั้น ๆ โดยเพิ่มจิต ๔ คู่มีโสตวิญญาณเป็นต้น เข้า
ในจิต ๑๕ ที่เป็นไปในจักขุทวาร โดยการถือเอาจิตที่ยังมิได้ถือเอา ฯ
จิต ๑๕ ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิเป็นต้น ชื่อว่าพ้นจากทวาร
เพราะไม่เป็นไปในทวารมีจักขุทวารเป็นต้น และเพราะไม่เป็นไปด้วย
อำนาจแห่งการรับอารมณ์อื่นจากภวังค์ กล่าวคือมโนทวาร ฯ จิต ๓๖ คือ
ทวิปัญจวิญญาณ เพราะเกิดขึ้นในมโนทวารของตน ๆ และเพราะไม่เป็นไปด้วย
ชวนจิต ๒๖ เพราะเกิดขึ้นในมโนทวารเท่านั้น ชื่อว่าเอกทวาริกจิต
(จิตเป็นไปในทวารเดียว) ตามสมควร คืออนุรูปแก่ทวารของตน ๆ ฯ
ๆ
จิตที่ชื่อว่าฉทวาริกะ (เป็นไปในทวาร ๖) เพราะเป็นไปในทวาร