ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 35
ที่ชื่อว่าจักขุ เพราะอรรถว่า เป็นตัวชี้แจง คือเป็นที่ตั้งอาศัยของ
วิญญาณ จึงเป็นประหนึ่งคอยบอกอยู่ ทั้งรูปที่สม่ำเสมอ และรูปที่ไม่
สม่ำเสมอ ๆ อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าจักขุ เพราะอรรถว่า เป็นตัวชอบ
คือเป็นประหนึ่งชอบใจรูปฯ เพราะศัพท์ว่า จกฺขติ (ผึ้งชอบน้ำหวาน)
พยัญชน์ จกฺขติ (คนชอบกับข้าว)ฯ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสคำเป็นอาทว่า ดูก่อนมาคันทิยะ (ปริพาชก) จักขุแล มีรูปเป็น
ที่มียินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงพร้อมแล้ว ฯ ท้วงว่า
ถ้าเช่นนั้น โดยพระพุทธดำรัสเป็นต้นอาทิว่า ดูก่อนมาคันทิยะ โสตะแล
มีเสียงเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในเสียง อันเสียงให้บันเทิงพร้อมแล้ว
ดังนี้ แม้โสตะเป็นต้นก็มีความชอบในเสียงเป็นต้น เพราะฉะนั้น การที่
จะขนานนามโสตะเป็นต้นแม้นั้นด้วยศัพท์ว่าจักขุ ก็ย่อมถูกต้อง เฉลยว่า
ไม่ถูก เพราะศัพท์ว่าจักขุ เป็นศัพท์จำกัดความ ๆ ที่จริง ศัพท์ว่า จักขุ
นี้ จำกัดเฉพาะในจักขุประสาท อันมีลักษณะทำภูตรูปที่เกิดแต่กรรม
อันมีความประสงค์จะดูเป็นเหตุให้ผ่องใสเท่านั้น ดุจศัพท์ว่า มยุร เป็นต้น
จำกัดในนกพิเศษเป็นต้น ฉะนั้น ๆ ถึงแม้ก้อนเนื้อที่กำหนดด้วย
กระดูกคิ้ว ท่านก็เรียกว่า จักขุ โดยเป็นไปร่วมกับจักขุ ฯ แต่ใน
อรรถกถา พระอรรถกถาจารย์ ทำในใจว่า เพราะธา
ๆ
เพราะธาตุทั้งหลายมีอรรถ
มากมาย แม้ จกฺขติ ศัพท์ มีอรรถว่า แสดง ก็มี จึงกล่าวว่า
ธรรมชาติที่ชื่อว่าจักขุ เพราะอรรถว่า บอก คือแสงรูปให้แจ่มแจ้ง
๑. ม. ม. ๑๓/๒๗๒.
๒. สมฺโมหวิโนทนี ๔๘.