ข้อความต้นฉบับในหน้า
se
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 201
พรรณนาความปริเฉทที่ ๕
[ข้อความเบื้องต้น]
ก็พระอาจารย์ครั้นแสดงวิถีสังคหะ (คือการสงเคราะห์วิถีจิต)
ด้วยคำมีประมาณเพียงเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อเริ่มแสดงวิถีมุตตสังคหะ
(คือการสงเคราะห์จิตที่พ้นจากวิถี) จึงได้กล่าวคำว่า "วิถีจิตฺตวเสเนว"
เป็นต้น ฯ ประกอบความว่า "ข้าพเจ้าได้กล่าวสังคหะ ชื่อปวัติสังคหะ
ไว้แล้วไปปวัติกาลด้วยอำนาจวิถีจิต คือในกาลอื่นจากปฏิสนธิกาล
อันเป็นที่สุดแห่งจิตจิต อย่างนี้คือ ตามนัยที่กล่าวแล้ว (ในปริเฉท
ที่ ๔) บัดนี้ คือในลำดับแห่งสังคหะนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวปวัติสังคหะ
ในสนธิ คือ ในปฏิสนธิกาล และในกาลแห่งจุติจิตใกล้ต่อปฏิสนธินั้น" ฯ
[อธิบายคำว่า อบาย เป็นต้น]
ન્
બૈ
ถิ่นที่ชื่อว่าอบาย เพราะอรรถว่า ไปปราศจากความเจริญที่สมมติ
กันว่าบุญโดยมากฯ อบายนั้นแล ชื่อว่าภูมิ เพราะอรรถว่า เป็นที่มี
พวกสัตว์อยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอบายภูมิ ฯ ภูมิที่มีชื่อว่าสุคติ
เพราะอรรถว่า งาม โดยความเป็นสถานที่รองรับแห่งสมบัติมิใช่อย่างเดียว
และเป็นคติ เพราะเป็นที่อันสัตว์พึงถึง คือพึงเกิด ฯ สุคติที่เป็นไปกับ
กามตัณหา ชื่อวากามสุคติฯ กามสุคตินั้นนั่นแล ชื่อว่าภูมิ เพราะเหตุนั้น
พระปริยัติเวที (ผุย คตญาโณ ป.ธ. ๙) วัดปทุมวนาราม พระนคร แปล