บทวิเคราะห์อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 324
หน้าที่ 324 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการสงเคราะห์บาปในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยมีการแบ่งหมวดธรรม 14 อย่าง รวมถึงการอธิบายองค์ฌานและองค์มรรคอย่างละเอียด ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงประเภทของบาป ตั้งแต่โลภะ อวิชชา และปฏิฆะ ซึ่งมีการจัดแบ่งตามฐานต่าง ๆ อธิบายการคิดคำนึงและการเผาธรรมที่เป็นข้าศึก ในที่สุดยังได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญขององค์ฌานและการรวมกันของหมวดธรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้าใจถึงความพ้นทุกข์และหนทางสู่ความหลุดพ้น ที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- อภิธรรมและบาป
- องค์ฌาน
- องค์มรรค
- ธรรมที่ต้องรู้
- การแบ่งประเภทธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 324 อย่าง ทั้งโดยอำนาจพระสูตรทั้งโดยอำนาจพระอภิธรรม ฯ ข้าพเจ้า ได้กล่าวการสงเคราะห์ (ประมวล) พวกบาปคืออกุศลไว้ ๕ อย่าง ด้วยประการอย่างนี้แล ฯ ก็บรรดาธรรม ๑๔ อย่าง มีโลภะเป็นต้น เหล่านี้ มีสังคหะ ๕ อย่างนี้ คือ โลภะและทิฏฐิสงเคราะห์ ลงใน ๕ ฐานและ ๘ ฐาน อวิชชาสงเคราะห์ลง ใน ๓ ฐาน, ปฏิฆะสงเคราะห์ลงใน ๕ ฐาน กังขาสงเคราะห์ลงใน ๔ ฐาน, มานะและอุทธัจจะ สงเคราะห์ลงใน ๓ ฐาน, ถีนะสงเคราะห์ลงใน ๒ ฐาน, บาป คือ กุกกุจจะ มิทธะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อิสสะ และนิคูหนา (มัจฉริยะ) สงเคราะห์ลงในฐานเดียว ฯ [อธิบายองค์ฌานและองค์มรรค คำที่ควรกล่าวในจำพวกเหตุ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแล ฯ ธรรมชาตมีวิตกเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่ง กล่าวคือเข้าไปคิดคำนึกอารมณ์ และเพราะอรรถว่า เผาธรรม ที่เป็นข้าศึกตามสมควร และชื่อว่าองค์ก็เพราะเป็นเครื่องที่จะกำหนด คือรู้ โดยเป็นส่วนย่อมของหมวดธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าฌานังคะ ฯ แม้เมื่อไม่มีหมวดธรรมที่พ้นไปจากส่วนย่อม วิตก เป็นต้น บัณฑิตก็คงเรียกโดยความเป็นองค์ (ส่วน) แต่ละอย่างๆ เหมือนองค์ (ส่วน) แห่งเสนาและองค์ (ส่วน) ของรถเป็นต้น เป็นอย่างๆ ฉะนั้น โดยรวมกันเข้าก็เป็นฌานฯ ก็บรรดาฌานังคะ ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More