ความเข้าใจเกี่ยวกับมุทิตาและปัญญาในอภิธัมม์ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 95
หน้าที่ 95 / 442

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้นำเสนอการวิเคราะห์ความหมายและคุณลักษณะของมุทิตาและปัญญา โดยมุทิตาถูกนิยามว่าเป็นการเฉลิมฉลองความสุขของผู้อื่น ในขณะที่ปัญญาช่วยให้รู้ความจริง และทั้งสองมีความสำคัญในแนวทางการพัฒนาจิตใจ เพื่อความเข้าใจและสงบในการดำเนินชีวิต บทความนี้ยังอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมตตา อุเบกขา และอัปปมัญญา รวมถึงบรรยายถึงลักษณะของเจตสิกที่มีอิทธิพลต่อสัตว์ทั้งหลาย

หัวข้อประเด็น

-มุทิตา
-ปัญญา
-อภิธัมม์
-เจตสิก
-เมตตา
-อุเบกขา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 95 นั้นก็คงเป็นไปโดยอาการนั้นนั่นเอง ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่ามุทิตา เพราะ อรรถว่า เป็นเครื่องแสดงความยินดีแห่งชน ฯ มุทิตานั้นมีการชื่นช สมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะ ฯ เจตสิกทั้ง ๒ ชื่อว่าไม่มีประมาณ เพราะ มีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ ฯ อัปปมาณานั้นนั่นแล ชื่อว่าอัปป มัญญาฯ ถามว่า ก็ท่านอาจารย์จักกล่าวว่า อัปปมัญญามี ๔ มิใช่หรือ ก็เพราะเหตุไร ในอธิการแห่งการแสดงลักษณะเจตสิกนี้ ท่านจึงกล่าว (อัปปมัญญา) ไว้เพียง ๒ เท่านั้น ฯ แก้ว่า (ท่านกล่าวไว้เพียง ๒ เท่านั้น) เพราะเมตตาและอุเบกขา พระผู้มีพระภาคทรงถือเอาด้วย อโทสะ และตัตรมัชฌัตตตา (ความไม่โกรธ และความเป็นกลางใน ธรรมนั้น ๆ)ฯ จริงอยู่ อโทสะนั่นเอง ที่เป็นไปด้วยอำนาจอัธยาศัย เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าเมตตาฯ ความเป็นกลางในธรรมนั้น ๆ ที่เป็นไปด้วยอำนาจระงับความขัดเคืองและยินดีในสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า อุเบกขาฯ ด้วยเหตุนั้น โบราณบัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า ก็เพราะพระผู้มีพระภาคทรงถือเอาเมตตา ด้วยความไม่พยาบาท และอุเบกขาด้วย ความเป็นกลางในธรรมนั้นๆ ฉะนั้น (ในที่นี้) ท่านอาจารย์จึงไม่ถือเอาทั้ง ๒ อย่าง ฯ [อธิบายปัญญาเจตสิกเป็นต้น] ธรรมชาติที่ชื่อว่าปัญญา ด้วยอรรถว่า ย่อมรู้โดยประการ คือรู้ ชัดด้วยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้นฯ ปัญญานั้นแล ชื่อว่าเป็นใหญ่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More