อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 165 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 165
หน้าที่ 165 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการศึกษาอภิธัมมัตถสังคหะในด้านวิถีจิตและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัญจทวาร โดยเฉพาะการพิจารณาโมฆวารและอติปริตตารมณ์ โดยมีการอธิบายถึงความเหมาะสมของการเกิดขึ้นของจิตและอารมณ์ในสภาวะแตกต่างๆ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับคำว่า 'เอตฺถ' ซึ่งหมายถึงวิถีที่ปรากฏชัดในบริบทนี้ ทางด้านความเข้าใจและการกำหนดอารมณ์ในจิตผ่านการใช้หลักวิภูตะและอวิภูตะ

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหะ
-วิถีจิต
-อารมณ์
-โมฆวาร
-ปัญจทวาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 165 วาร ๔ เหล่านี้ คำว่า วิสัยปวัติเป็นอารมณ์แม้ของโมฆวาร ดังนี้ สำเร็จแล้ว ฯ จริงอยู่ อติปริตตารมณ์ ย่อมเป็นปัจจัยของการบัญญัติว่า โมฆวารได้ ฯ ก็เมื่อถือเอาความอย่างอื่น ปัจฉิมวาร ไม่มีความเป็นไป બૈ ๆ ในอติปริตตารมณ์ เพราะภวังคจลนะเป็นไปในอารมณ์ของตน ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น คำว่า เป็นอารมณ์ของวาระทั้ง ๔ ก็จะเป็น คำที่ถือเอาไม่ดี (กล่าวไว้ไม่ดี) ฉะนี้แล ฯ วิถีจิตเมื่อเกิดขึ้นใน ปัญจทวารตามสมควร คือตามสมควรแก่ทวารนั้น ๆ ตามสมควรแก่ ปัจจัยนั้น ๆ และตามสมควรแก่อารมณ์เป็นต้นนั้น ๆ ย่อมมีเพียง ๓ ดวงเท่านั้นโดยไม่แปลกกัน คือ อาวัชชนะ ๑ ทัสสนะเป็นต้น ๑ สัม ปฏิจฉันนะ ๑ สันตีรณะ ๑ โวฏฐัพพนะ ๑ ชวนะ ตทาวัมพนะ ๑ อีกนัยหนึ่ง จิตตุปบาท คือเฉพาะจิตที่กำลังเกิดขึ้นโดยอำนาจจิตที่เกิด ทีละดวง ๆ มี ๑๔ ด้วยอำนาจอาวัชชนะเป็นต้นทั้ง ๕ ชวนะ ) และ ตทาลัมพนะทั้ง ๒ แต่โดยพิสดารวิถีจิตมีถึง ๕๔ ดวง เพราะกามาวจร จิตทั้งหมดทีเดียว เกิดในปัญจทวารนั้น ตามเหมาะสมแก่การเกิด ฯ บทว่า เอตฺถ คือ ในวิสัยปวัติสังคหะ ฯ [อธิบายวิภูตารมณ์และอวิภูตารมณ์ จิตที่เป็นไปในมโนทวาร มีอารมณ์เป็นทั้งอดีตและอนาคต เพราะ ฉะนั้น นักปราชญ์จึงไม่สามารถทำการกำหนดอารมณ์ของจิตที่เป็นไปใน มโนทาวารเหล่านั้น ด้วยสามารถอติมหันตารมณ์เป็นต้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะกำหนดอารมณ์นั้นด้วยอำนาจวิภูตะและอวิภูตะเท่านั้น ท่าน อาจารย์จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า ถ้าอารมณ์ปรากฏชัด ดังนี้ ฯ บทว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More