อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 306
หน้าที่ 306 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการตีความหมายของอุปาทิในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อุปาทิเป็นสิ่งที่ถูกยึดไว้มั่น และเป็นชื่อของเบญจขันธ์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกิเลสและนิพพาน การศึกษารายละเอียดต่าง ๆ เช่น อุปาทิเสส และสอุปาทิเสส โดยอรรถที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติของนิพพาน ที่ว่างจากราคะ โทสะ และโมหะ การให้ความหมายของนิพพานผ่านคำนิยามที่สะท้อนธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งหลุดพ้น และคำพรรณนาถึงพระพุทธเจ้าที่พ้นจากตัณหาทุกอย่าง

หัวข้อประเด็น

-อุปาทิ
-นิพพาน
-อภิธรรม
-การตีความพุทธศาสนา
-ธรรมชาติและอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 306 สภาพที่ชื่อว่า อุปาทิ เพราะอรรถว่า ถูกอุปาทานมีกามุปาทานเป็นต้น ยึดไว้มั่น ฯ คำว่า อุปาทิ นี้ เป็นชื่อว่าแห่งเบญจขันธ์ฯ อุปาทินั่นแล อันเหลือจากกิเลสทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่าอุปาทิเสส ฯ นิพพานเป็นไป กับด้วยอุปาทิเสสนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่าอุปาทิเสสฯ สอุปาทิเสสนั้น นั่นแล เป็นนิพพานธาตุ เหตุนั้น จึงชื่อว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุฯ บทว่า การณปริยาเยน ความว่า โดยอ้างความมีและความไม่มี แห่งอุปาทิเสส ซึ่งเป็นเหตุในอันบัญญัติ ด้วยสามารถแห่งสอุปาทิเสส นิพพานเป็นต้นฯ พระนิพพานที่ชื่อว่าสุญญะนั่นแล ชื่อว่าสุญญตะ เพราะเป็นธรรมชาตว่างจากราคะ โทสะ และโมหะ โดยอารมณ์และ โดยสัมประโยค ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะเว้นจากนิมิตมีราคะเป็นต้น โดยอาการอย่างนั้น ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะเว้นจากที่ตั้งคือกิเลสมี ราคะเป็นต้น โดยอาการอย่างนั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานชื่อว่าสุญญตะ เพราะเป็นธรรมชาต สูญจากสังขารทั้งปวง ชื่อว่าอนิมิตตะ เพราะไม่มีนิมิตคือสังขารทั้งปวง ชื่อว่าอัปปณิหิตะ เพราะไม่มีที่ตั้งคือสังขารทั้งปวง ชื่อว่าอัจจุตะ เพราะไม่มีความเคลื่อน ชื่อว่าอัจจันตะ เพราะก้าวล่วงส่วนสุด คือที่สุด ชื่อว่าอสังขตะ เพราะไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ชื่อว่าอนุตตระ เพราะไม่มี ธรรมที่ยิ่งกว่าตน หรือเพราะไม่มีธรรมที่ยิ่ง ซึ่งพึงกล่าวพร้อมกับ ธรรมฯ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าผู้พ้นจากตัณหาชื่อว่าวานะ เพราะ ทรงพ้นไป คือทรงปราศจากตัณหาชื่อว่าวานะ โดยประการทุกอย่าง ฯ ๑. หรือเพราะไม่มีคำตอบที่จะพึงกล่าวโดยชอบธรรม (ว่าพระนิพพาน เป็นเช่นนี้)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More