อภิธัมมัตถสังคหบาลี - หน้าที่ 272 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 272
หน้าที่ 272 / 442

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงโคจรรูปและความหมายของประสาทในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยเน้นถึงอาการของประสาทที่ส่งผลต่อการรับรู้และการสัมผัสของมนุษย์เมื่อประสาทนั้นทำงาน. มีการอธิบายถึงลักษณะของประสาทและการสัมผัสกับอาโปธาตุ รวมถึงการสร้างความรู้สึกจากความร้อนและความเย็นที่คนสามารถรับรู้ได้. การวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ของกายประสาทอาจช่วยให้เข้าใจการทำงานของอารมณ์และความประสบการณ์ที่มีในชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-โคจรรูป
-ประสาทในอภิธัมมัตถสังคหบาลี
-ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทและประสบการณ์
-ลักษณะของธาตุในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 272 อันโคจรรูปมีวรรณะเป็นต้นคอยแวดล้อม ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและ ทวารแห่งวิถีจิตมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นไปตามสมควร ฯ ส่วนนอก นี้เรียกว่าสสัมภารจักขุ (จักขุอุปกรณ์) ฯ แม้โสตประสาทเป็นต้น ก็เหมือนกัน ซึมซาบตลอดประเทศมีอาการดังวงแหวน มีขนแดง เล็กงอกขึ้นแล้ว ภายในช่องโสตะ ซึมซาบตลอดประเทศมีสัณฐาน ดังกีบแพะ ภายในช่องนาสิก ซึมซาบตลอดประเทศมีสันฐานดังปลาย กลีบอุบล ในท่ามกลางชิวหา เป็นไปตามลำดับ ฯ ส่วนกายประสาท นอกนี้แผ่ไปตลอดสรีระทุกส่วนที่เหลือลง เว้นแต่ที่ตั้งแห่งเตโชธาตุ เกิดแต่กรรม และปลายผม ปลายขน ปลายเล็บ และหนังอันผาก ฯ แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ กายประสาทนั้นก็ไม่ปะปนกับประสาทรูปนอกนี้ เพราะมีลักษณะต่างกัน ๆ จริงอยู่ โคจรรูปมีรูปและรสเป็นต้น แม้มี ที่อาศัยร่วมกัน ก็ไม่ปะปนกันก่อน เพราะความต่างแห่งลักษณะ ฯ ส่วนพวกประสาทมีที่อาศัยต่างกัน จะปะปนกันอย่างไร ๆ เพราะอาโป- નૂ ๆ ธาตุอันชาวโลกไม่สามารถสัมผัสได้ โดยเป็นธาตุละเอียด ท่านอาจารย์ จึงได้กล่าวไว้ว่า รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ กล่าวคือภูตรูป ทั้ง ๓ เว้นอาโปธาตุ ชื่อว่าโคจรรูปฯ ความเป็นของเย็นชาวโลกจะ ถูกต้องจับได้ก็จริง ถึงอย่างนั้นได้ ก็เพราะความรู้สึกว่าเย็นเป็นของ ก็เมื่อความร้อนมีน้อย จึงรู้สึกกว่าเย็น เพราะคุณค่าอะไร กล่าวคือความ เย็นไม่มี ฯ โลกจะรู้ความร้อนนี้นั้นได้ ก็เพราะความรู้สึกว่าเย็นเป็นของ ไม่แน่นอน ประดุจความไม่แน่นอนในฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้ฉะนั้น ๆ จริงอย่างนั้น ในฤดูร้อน คนยืนอยู่ที่แดดแล้วเข้าไปสู่ร่มเงา จะรู้สึกว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More