อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 93
หน้าที่ 93 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาต้องการอธิบายความหมายของกายและจิตผ่านหลักอภิธรรม โดยการอธิบายถึงการเกิดขึ้นของความสงบในจิตและกาย ซึ่งมีความสำคัญในด้านการปฏิบัติธรรม ภายในข้อความระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ทำให้เกิดความสงบและความกระวนกระวาย แตกต่างกันในทางอภิธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ โดยมีการแบ่งประเภทของเจตนาในการงดเว้นจากการพูดที่ไม่ดี รวมถึงการระบุถึงธรรมที่ชื่อว่าโสภณสาธารณาเจตสิก ซึ่งเกิดขึ้นในโสภณจิตโดยเฉพาะ ทั้งนี้ยังมีการอธิบายถึงการงดเว้นจากการพูดทุจริตเพื่อแสดงถึงความสำคัญของสัมมาวาจา ที่เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาจิตใจและการทำความดีในชีวิตประจำวัน

หัวข้อประเด็น

-ความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิต
-ความสงบและความกระวนกระวาย
-เจตสิกในอภิธรรม
-สัมมาวาจาและความงดเว้นจากวจีทุจริต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 93 ที่กายและจิตตรงเป็นลักษณะ ฯ ก็ทั้ง 5 คู่ มีกายปัสสัทธิเป็นต้นนี้ เกิดจากปัจจัยที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความกำเริบแห่งธาตุ ซึ่งกระทำกายและจิต ให้มีความกระวนกระวายอย่างแรงเป็นต้น ตามลำดับ ฯ ก็คำว่ากาย ใน ๖ คู่นี้ หมายเอาขันธ์ทั้ง ๓ มีเวทนาเป็นต้น ฯ ก็เพราะธรรม ๒ อย่าง ๆ รวมกัน ห้ำหั่นธรรมที่ตรงกันข้ามตามหน้าที่ ของตน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสความที่ปัสสัทธิเป็นต้น มี ๒ อย่าง ในธรรมมีปัสสัทธิเป็นต้นเท่านั้น หาได้ตรัสไว้ในสมาธิเป็นต้นไม่ อีกอย่างหนึ่ง ภาวะคือความสงบเป็นต้นของจิตนั่นเอง จะมีได้เพราะ จิตตปัสสัทธิเป็นต้น ส่วนภาวะคือความสงบเป็นต้น แม้แห่งรูปกาย ย่อมมีได้เพราะกายปัสสัทธิเป็นต้น ด้วยอำนาจการแผ่ไปแห่งรูปที่ ประณีตซึ่งมีกายปัสสัทธิเป็นสมุฏฐาน เพราะฉะนั้น เพื่อจะประกาศ ความตามที่กล่าวแล้วนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสความที่ปัสสัทธิเป็นต้น มี ๒ อย่างไว้ ในธรรมมีปัสสัทธิเป็นต้นนี้ ฯ เจตสิกที่ทั่วไปแก่โสภณ- จิตทั้งหมด เพราะเกิดในโสภณจิตเหล่านั้นโดยแน่นอน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าโสภณสาธารณาเจตสิก ฯ 4 [อธิบายวิรัติเจตสิก] ન วิรัติที่ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพูดชอบแห่ง บุคคล ได้แก่ความงดเว้นจากวจีทุจริตฯ สัมมาวาจานั้น มี ๔ อย่างคือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูด ส่อเสียด ๑ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เจตนาเครื่องงดเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯ กรรมนั่นเอง ชื่อว่ากัมมันตะ เปรียบเหมือน ๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More