อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 379
หน้าที่ 379 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน รวมถึงอิทธิพลของเจตนาต่อรูปกายและกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนามรูปและเจตนาในกระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ โดยสรุปเจตนาจะถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญแก่รูปและนาม การเรียนรู้ในด้านนี้เป็นประโยชน์ในการรักษาจิตใจและการเข้าใจการเกิดต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-เจตนาและนามรูป
-อิทธิพลกรรม
-วิบากและปฏิสนธิ
-การศึกษาอภิธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 379 เจตนาที่เกิดด้วยกัน โดยที่สุกแม้กับจักขุวิญญาณเป็นต้น ๆ คำว่า สหชาตานํ นามรูปาน คือ เจตนาแม้ทั้งหมดย้อมเป็นปัจจัยแก่นาม เจตนาที่สหรคตด้วยปฏิสนธิ ย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปซึ่งมีกรรมเป็นสมุฏ ฐาน และเจตนาที่สหรคตด้วยจิตซึ่งยังรูปให้เกิดในปวัติกาล เป็น ปัจจัยแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน (ด้วยอำนาจแห่งกรรมปัจจัย)ฯ คำว่า นานากฺขณิกา เจตนา ได้แก่ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาซึ่งบั งบังเกิด ในภพทั้งหลาย มีภพที่ล่วงแล้วเป็นต้น ในขณะต่าง ๆ กัน จากขณะ แห่งวิบากฯ บทว่า นามรูปาน คือ เจตนาเกิดต่างขณะกัน ย่อม เป็นปัจจัยแก่นามรูป ในปฏิสนธิกาลและปวัติกาลแม้ทั้ง ๒ ฯ บทว่า วิปากกฺขนฺธา ได้แก่ อรูปขันธ์ที่เป็นวิบากมีปฏิสนธิวิญญาณเป็นต้นฯ จริงอยู่ รูปแม้มีกรรมเป็นสมุฏฐานก็ไม่ได้โวหารว่าวิบาก เพราะศัพท์ ว่า วิบาก นิยมใช้เฉพาะในอรูปธรรมที่แม้นกับกรรม โดยเป็นอรูป ธรรม และโดยเป็นธรรมมีอาลัมพนะเท่านั้น ฯ คำว่า ปุเรชาตสฺส อิมสฺส กายสฺส ความว่า (นามปัจจัย) แก่รูปกายนี้ ซึ่งเกิด ก่อนแต่ปัจจยธรรม (ธรรมเกิดจากปัจจัย) ฯ ถามว่า ก็เมื่อปัจจุบันธรรมมีการเกิดก่อน ความเป็นปัจจัยแก่ ธรรมซึ่งเกิดภายหลัง จะมีได้อย่างไร ? แก้ว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ แล้วมิใช่หรือว่า เมื่อไม่มีปัจฉาชาตปัจจัย (ธรรมคือจิตและเจตสิกซึ่ง เกิดภายหลังเป็นเครื่องค้ำจุน โดยเป็นการอุปถัมภ์) แก่ร่างกายซึ่งยัง ไม่ถึงความเป็นเหตุแห่งความตั้งอยู่ของสันดาน (ความสืบต่อ) เพราะ ฉะนั้น ปัจฉาชาตปัจจัยนี้ มีความขวนขวายในการค้ำจุน โดยความเป็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More