อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 3 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 3
หน้าที่ 3 / 442

สรุปเนื้อหา

ในหน้าที่ 3 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลี อธิบายถึงประเภทของจิตที่มีอยู่และการจัดกลุ่มจิตที่สัมพันธ์กับอุเบกขาและโสมนัส จิตที่ถูกแบ่งออกเป็น 18 ประเภท รวมถึงกุศลวิบากจิต และความสัมพันธ์กับกรรมประเภทต่างๆ นอกจากนี้ยังระบุถึงการจัดกลุ่มจิตว่าเป็นโสภณจิตหรือไม่ ทั้งนี้ มีจิตที่สหรคตด้วยความสุขและอุเบกขาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งทำให้เข้าใจความซับซ้อนของจิตในบริบทของอภิธัมมะได้ดียิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมะ
-ประเภทของจิต
-กุศลและอกุศล
-จิตที่มีความสุข
-จิตที่มีอุเบกขา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 3 สหรคตด้วยอุเบกขา ๑ สันตีรณจิต สหรตด้วยอุเบกขาเช่นเดียวกัน ๑ ชื่อว่า อกุศลวิบากอเหตุจิต ฯ 0 0 จิต ๔ เหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขา โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๑ ชิวหาวิญญาณ ๑ (สหรคตด้วย อุเบกขา) เช่นเดียวกัน การวิญญาณ สหรคตด้วยสุข ๑ สัมปฏิจฉันน จิต สหรคตด้วยอุเบกขา ๑ สันตีรณจิต สหรคตด้วยโสมนัส ๑ สันตีรณจิต สหรคตด้วยอุเบกขา ๑ ชื่อว่า กุศลวิบากอเหตุกจิตฯ จิต ๓ นี้ คือ ปัญจทวาราวัชชนะ สหรคตด้วยอุเบกขา ๑ มโนทวาราวัชชนะ สหรคตด้วยอุเบกขาเช่นกัน ๑ หสิตุปบาทจิต สหรคตด้วยโสมนัส ๑ ชื่อว่า อเหตุกิริยาจิต ฯ อเหตุจิต ๑๘ จบบริบูรณ์ทุกประการ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ [สังคหคาถา] อเหตุกจิต ๑๘ คือ อกุศลวิบากจิต ๒ กุศลวิบากจิต ๘ กิริยาจิต ๓ ฯ จิต ๕๕ หรือ ๕๑ บ้าง ที่พ้นจากอกุศลจิต และ อเหตุจิต ท่านเรียกว่า โสภณจิต ฯ จิต ๘ นี้ คือ จิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ประกอบด้วยญาณ เป็น อสังขริก ๑ สสังขาริก ๑ จิตที่สหรคตด้วยโสมนัส ไม่ประกอบด้วย ญาณ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ จิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ จิตที่สหรคตด้วย อุเบกขา ไม่ประกอบด้วยญาณ เป็นอสังขาริก ๑ สสังขาริก ๑ ชื่อว่า สเหตุกกามาวจรกุศลจิต ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More