อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 279 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 279
หน้าที่ 279 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้า 279 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของวิญญัติที่เกิดจากวาโยธาตุ ซึ่งมีจิตเป็นตัวขับเคลื่อน และความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนไหวของการดำเนินการกายและการมีส่วนร่วมของหมวดหมู่ต่างๆ ข้อมูลนี้เน้นถึงการที่กายสามารถสื่อสารความประสงค์ของบุคคลผ่านการเคลื่อนไหวต่างๆ ได้อย่างไร โดยยกตัวอย่างเช่น ความเคลื่อนไหวของมือ และอธิบายว่ามีอำนาจจากการจัดการโดยวิญญัติในสามประเภทที่เกี่ยวข้อง และกายจะยังคงนิยามความเข้าใจในเรื่องนี้โดยมิได้ยึดติดกับการใช้พลังเพียงอย่างเดียว

หัวข้อประเด็น

-การเคลื่อนไหวในอภิธัมมะ
-ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและร่างกาย
-วิญญัติกับวาโยธาตุ
-สมุฏฐานในการเกิดการเคลื่อนไหว
-การสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 279 วาจานั้น ๆ ในวิญญัติทั้ง ๒ นั้น วิการแห่งวาโยธาตุซึ่งมีจิตยังความ คิดที่จะก้าวไปข้างหน้าเป็นต้นให้เกิดเป็นสมุฏฐาน ที่เป็นเหตุทำร่วมกัน ในการค้ำจุนทรงอยู่และการเคลื่อนไหวแห่งรูปที่เกิดร่วมกัน ที่พ้นจาก กายที่ไหวอยู่และวาโยธาตุที่เป็นเหตุไหว อันบุคคลได้อยู่โดยความเป็น ปัจจัยแห่งความเคลื่อนไหวแห่งรูปกาย ดุจวิการแห่งความอุตสาหะในเวลา ที่คนยกหินแผ่นใหญ่ถือไว้ด้วยกำลังทั้งหมด ชื่อว่ากายวิญญัติฯ จริงอยู่ กายวิญญัตินั้น ยังคนอื่นให้รู้ความประสงค์ด้วยกายที่เคลื่อนไหวอยู่ๆ แท้จริง ในความเคลื่อนไหวแห่งต้นไม้เป็นต้น ที่พ้นจากวิการคือวิญญัติ บัณฑิตไม่เห็นการถือเอาความประสงค์ว่า "คนนี้ใช้ให้ทำการนี้ " ดังนี้ และ ฯ และตนเองก็รู้ด้วยกาย เพราะพวกมโนทวารชวนะ อันมีลำดับ ไม่ปรากฏยึดอยู่ในลำดับแห่งการถือความประสงค์แห่งกายที่เคลื่อนไหวอยู่ ในการเคลื่อนไหวแห่งเหมือนเป็นต้น ฯ ක มีคำถามสอดเข้ามาว่า ความเคลื่อนไหวแห่งมือเป็นต้น มีได้ ด้วยอำนาจวิญญัติ ด้วยประการไรเล่า ? เฉลยว่า "บรรดาชวนะ ทั้ง ๓ ในวิถีแห่งอาวิชชนะเดียวกัน วาโยธาตุอันมีชวนะที่ ๒ เป็นสมุฏ ฐาน ประกอบด้วยวิการคือวิญญัติ ได้รับความอุปถัมภ์แล้วจากพวก วาโยธาตุ อันมีปฐมชวนเป็นต้นเป็นสมุฏฐาน ย่อมยังจิตตชรูปให้ เคลื่อนไหว เพราะเป็นเหตุแห่งความเกิดในประเทศส่วนอื่น "ๆ ส่วน วาโยธาตุที่เกิดแต่ชวนะเดิมเป็นต้น ทำหน้าที่เพียงค้ำจุนและทรงไว้ ย่อมมีเพื่ออุดหนุนแก่วาโยธาตุที่เกิดแต่ชวนะที่ ๓ นั้น ๆ ข้อนี้จึงเห็น สมความอุปมา เหมือนในเกวียนที่โคจะต้องลากไปด้วยแอก ๓ แอก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More