ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 381
ฉะนั้น อกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น และกุศลธรรมมีศรัทธาเป็นต้น
อันสำเร็จในสันดานของตน หรือฤดูและโภชนะเป็นต้น อันบุคลพึง
เสพ ชื่อปกตูปนิสัย ฯ ท่านอาจารย์ชี้แจงแสดงไขปกตูปนิสัยไว้โดยประการ
อย่างนั้นแล ๆ
બૈં
บทว่า ครุกต์ คือ อารมณ์ที่ (จิตและเจตสิก) ทำให้ท่านหนักแน่น
แล้วพิจารณาฯ จริงอย่างนั้น นิเทศแห่งอาลัมพนูปนิสัยนั้น เป็นไป
แล้วด้วยอำนาจแห่งการทำทาน ศีล อุโบสถกรรม กุศลกรรมที่ทำไว้ใน
ก่อน และสั่งสมมาดี ฌาน โคตรภู โวทาน และมรรคเป็นต้น
ให้หนักแน่นแล้วพิจารณาโดยนัยเป็นต้นว่า บุคคลให้ทานสมาทานศีล
กระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำทานเป็นต้นนั้นให้หนัก ย่อมพิจารณา
ดังนี้ ฯ ท่านอาจารย์กล่าวคำเป็นต้นว่า อนนุตรนิรุทธา ดังนี้ไว้ ก็
เพราะอนันตรูปนิสัย ไม่แตกต่างกับอนันตรปัจจัย มาแล้วโดยนัย
เป็นต้นว่า กุศลขันธ์ก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลขันธ์หลัง ๆ โดยเป็น
อนันตรปัจจัย ดังนี้ ฯ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ปัจจัยทั้ง ๒ นี้ก็มีความ
แปลกกันอย่างนี้ คือ ชื่อว่าอนันตรปัจจัย ด้วยอำนาจแห่งจิตตุปบาท
อันสมควรในลำดับแห่งตน ชื่อว่าอนันตรูปนิสสยปัจจัย ด้วยอำนาจแห่ง
เหตุที่มีกำลัง ๆ ประกอบความว่า ธรรมทั้งหลายมีราคาและศรัทธาเป็นต้น
สุข ทุกข์ บุคคล โภชนะ ฤดู และเสนาะทั้งภายในทั้งภายนอก ย่อม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้นตามสมควร ฯ จริงอยู่ ธรรม
มีราคะเป็นต้น อันบุคคลพึงให้สำเร็จในภายใน (ในสันดานของตน)
และบุคคลเป็นต้น อันบุคคลพึงเสพในภายนอกฯ สมจริงตามที่ท่าน