อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 67
หน้าที่ 67 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับการนิยมองค์ฌานและวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา โดยวิปัสสนาถือเป็นวุฏฐานคามินี ในขณะที่ฌานมีหน้าที่เป็นบาท แต่พระผู้สุกขวิปัสสกไม่จำเป็นต้องใช้ฌานในการบรรลุมรรค นอกจากนี้ การพิจารณาว่าองค์มรรคและโพชฌงค์อาจจะมีมิติต่างๆ ที่สำคัญต่อการเข้าถึงความรู้และการทำสมาธิ เนื้อหานี้ยังเชื่อมโยงกับอรรถกถาและการแสดงเถรวาท ผู้สนใจสามารถเรียนรู้จากปกรณ์และอรรถกถาเพื่อความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การบรรลุมรรค
-องค์ฌาน
-วิปัสสนา
-นิยามฌาน
-อรรถกถา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 67 งานที่พิจารณาฯ จริงอยู่ ฌานที่สูงๆ ขึ้นไป ย่อม เป็นบาทไม่เล็งฌานที่พิ มีกำลังกว่าฌานที่ต่ำ ๆ ลงมาฯ ส่วนการนิยมเวทนาแม้ในมรรคทั้งปวง ย่อมมีโดยนิยมคือ วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินีฯ การนิยมองค์ฌานล้วน ๆ ของพระผู้ สุกขวิปัสสก ย่อมมีโดยการนิยมคือวิปัสสนาเป็นวุฏฐานคามินีอย่างนั้น เหมือนกันฯ จริงอยู่ มรรคของพระผู้สุกขวิปัสสกนั้น ประกอบด้วย องค์ ๕ เท่านั้น โดยความนิยมคิดวิปัสสนา เพราะไม่มีความนิยมด้วย อำนาจฌานที่เป็นบาทเป็นต้นนั้น เพราะฌานที่เป็นบาทเป็นต้นไม่มีแก่ พระผู้สุกขวิปัสสกนั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง ถึงมรรคของบุคคลแม้ผู้ได้ สมบัติไม่กระทำฌานให้เป็นบาท พิจารณาปกิณณกสังขาร (สังขาร เบ็ดเตล็ด) แล้วให้เกิดขึ้น ก็ประกอบด้วยองค์ ๕ โดยความนิยมคือ วิปัสสนาเท่านั้น วินิจฉัยที่เป็นสาระอย่างว่ามานี้ ในอธิการว่าด้วย การนิยมองค์ฌานนี้ พระอรรถกถาจารย์ยกขึ้นจากอรรถกถาเป็นต้น ฯ แต่วินิจฉันที่พิสดาร ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจการแสดงเถรวาทเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาเป็นต้นฯ ก็ในการ นิยมองค์ฌานนี้ พึงทราบนัยพิสดาร ฉันใด นัยพิสดารในการนิยม โพชฌงค์ และการนิยมองค์มรรคเป็นต้นแม้ทั้งหมด บัณฑิตจึงถือเอา โดยนับที่ท่านกล่าวไว้แล้วในปกรณ์ มีอรรถกถาเป็นต้นนั้น ๆ ฉันนั้น ๆ แต่เพื่ออนุเคราะห์เหล่าชนผู้กลังคัมภีร์ ข้าพเจ้าจึงประสงค์เอาแต่สังเขปกถา ในปกรณ์ฯ เหมือนอย่างว่า รูปาวจรจิต บัณฑิตถือเอาในความต่าง แห่งฌาน ๕ อย่าง มีปฐมฌานเป็นต้น เรียกโดยชื่อว่าปฐมฌานเป็นต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More