ความเข้าใจในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 292
หน้าที่ 292 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอการวิเคราะห์อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา โดยศึกษานัยที่แสดงในวิภังคปกรณ์ ข้อความที่กล่าวถึงลักษณะแห่งสังขตธรรมและความเกิดขึ้นของจิตในภาคจิตและรูป รวมถึงการอธิบายถึงการทำงานของจิตที่ส่งผลต่อการเกิดหรือไม่เกิดรูปในภังคขณะ การศึกษานี้เน้นถึงหลักการที่สำคัญในอภิธัมม และเสนอความเข้าใจลึกซึ้งในเรื่องธาตุและความสัมพันธ์ของจิตกับรูป.

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-อภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา
-การเกิดของรูปและจิต
-ลักษณะแห่งสังขตธรรม
-ความสัมพันธ์ของจิตกับรูป

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 292 แสดงไว้ในวิภังคปกรณ์ โดยทรงแสดงนัย (เพราะเห็นได้โดยนัย) ฯ แม้ในวิภังค- ปกรณ์นั้น ก็ไม่ได้ตรัสความตั้งอยู่แห่ง ความสืบเนื่องกัน เพราะอาการมีความ เกิดขึ้นเป็นต้นทรงแสดงแล้ว เพื่อตรัส ลักษณะแห่งสังขตธรรมเท่านั้น และอรรถ แห่งบทว่า ปญฺญายติ นี้ว่า วิญญายเต อันบุคคลย่อมรู้แจ้ง เพราะอุปสัคเป็นไป ในอรรถแห่งธาตุทั้งหลายอย่างเดียว ความ ไม่บังเกิดแห่งรูปในภังคขณะ ทรงภาษิต ด้วยสามารถแห่งรูปอันเกิดแต่จิต หรือ ทรงหมายเอารูปภพ เพราะกิริยาที่ ประกอบตามอรรถที่พึงได้นี้ เป็นสภาพ ของยมกปกรณ์ เพราะเหตุนี้นั้น ฐิติขณะ แห่งจิตจะไม่มีไม่ได้ และความไม่บังเกิด ขึ้นแห่งรูปในภังคขณะ จะไม่มีก็ไม่ได้ เช่นกัน ดังนี้แล ฯ [อธิบายจิตที่ให้รูปเกิดและไม่ให้รูปเกิด จิต ๑๔ คือ ที่ชื่อว่าอรูปวิบากจิต (อรูปาวจรวิบากจิต ๔) เพราะเหตุที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรูปนั้น เพราะเกิดจากภาวนาเป็นเครื่อง สำรอกความพอใจในรูปด้วย เพราะรูปไม่มีโอกาสด้วย และที่ชื่อ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More