ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 154
แล้วปรากฏ ๑ ดังนี้ บัณฑิตไม่สามารถจะรู้ได้ว่า ความตั้งอยู่แห่ง
ธรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน อันมีสภาพะเป็นบัญญัติ ซึ่งเป็นอสังขตะ พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้วในพระสูตรนั้น ๆ แต่เพราะอุปสัคเป็นไปในอรรถ
แห่งธาตุนั่นเอง บทว่า ปญฺญายติ นี้ จึงมีอรรถว่า วิญญายติ แปลว่า
รู้แจ้งฯ เพราะฉะนั้น ขณะที่ตั้งอยู่แห่งจิต ท่านอาจารย์ไม่ควรคัดค้าน
ด้วยคำของอาจารย์บางพวกเพียงเท่านั้น เพราะฉะนั้น คำว่า ด้วยอำนาจ
อุปปาทขณะ ฐิติขณะ และภังคขณะนี้ ท่านอนุรุทธาจารย์ได้กล่าวไว้ถูก
ต้องดีแล้ว ฯ ก็เพราะว่าท่านอธิบายไว้อย่างนี้ แม้ในอรรถกถา (วิภังค์)
ท่านจึงกล่าวว่า จิตดวงหนึ่ง ๆ มีดวงละ ๓ ขณะ ด้วยอำนาจอุปปาทขณะ
ฐิติขณะ และภังคขณะ ดังนี้ ฯ
ๆ
[อายุของรูปธรรมและนามธรรม
อรูปมีความเปลี่ยนแปลงเร็ว รูปมีความเปลี่ยนแปลงช้า เพราะ
ภาวะแห่งอรูปผู้ยึดถือและรูปอันอรูปจึงยึดถือ สำเร็จด้วยสามารถแห่ง
ขณะแห่ง ๆ เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า ตานิ ดังนี้ 1
บทว่า ตานิ คือเป็นเช่านั้น ฯ ขณะทั้งหลายเหมือนขณะแห่งจิต ๑๗
ดวง ชื่อว่าสัตตรสจิตตขณะ ฯ อีกนัยหนึ่ง สัมพันธ์ความว่า ขณะจิตเหล่า
นั้นมี ๑๒ ขณะ ฯ แต่แยกเป็นส่วน ๆ ขณะจิตมี ๕๑ ขณะ ฯ บทว่า
รูปธมฺมานํ ได้แก่ รูปธรรมเว้นวิญญัติและลักษณรูปทั้ง ๓ เสีย ฯ แท้จริง
วิญญัติทั้ง ๒ มีอายุชั่วขณะจิตด้วยหนึ่ง ๆ ๆ จริงอย่างนั้น วิญญัติทั้ง ๒ นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในจำพวกธรรมที่เป็นไปตามจิต ฯ ก็บรรดา