ความแตกต่างของบุคคลในพระพุทธศาสนา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 404
หน้าที่ 404 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงความแตกต่างของบุคคลในพระพุทธศาสนา โดยกล่าวถึงพระอนาคามีและพระอรหันต์ที่ละกิเลสได้เด็ดขาด ไม่มีเหลือ นอกจากนั้นยังอภิปรายถึงสมาบัติ ผลของสมาบัติ และการเข้าถึงนิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นขั้นพื้นฐานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา รวมถึงการพิจารณาสังขารธรรมในขณะที่อยู่ในสมาบัติอธิษฐาน และการเข้าถึงอัคคตสมาบัติของพระอรหันต์และอนาคามีที่เป็นไปได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างระหว่างบุคคลในพระพุทธศาสนา
-พระอนาคามี
-พระอรหันต์
-สมาบัติและผลของสมาบัติ
-การเข้าถึงนิโรธสมาบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 404 บางลง มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ๆ มีชื่อว่าอนาคามี เพราะ เจริญอนาคามิมรรคแล้ว ละกามราคะและพยายามได้เด็ดขาด ไม่มา สู่ความเป็นอย่างนี้อีก ฯ มีชื่อว่าอรหันต์ เพราะเจริญอรหัตตมรรคแล้ว ละกิเลสได้เด็ดขาด ไม่มีเหลือ สิ้นอาสวะเป็นยอดพระทักขิไณยบุคคล ในโลก ฯ นี้เป็นความต่างแห่งบุคคล ในอธิการว่าด้วยบุคคลนี้ ฯ [ประเภทสมาบัติ] ก็บรรดาสมาบัติเหล่านี้ ผลสมาบัติย่อมทั่วไปแม้แก่พระอริยบุคคล ทั้งสิ้น ด้วยอำนาจผลตามที่เป็นของตน ๆฯ แต่การเข้านิโรธสมาบัติ ย่อมมีได้แก่พระอนาคามี หรือพระอรหันต์เท่านั้น ๆ ในการเข้านิโรธ สมาบัตินั้น พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ เข้ามหัคคตสมาบัติมี ปฐมฌานเป็นต้น ออกแล้วพิจารณาสังขารธรรมที่เป็นไปในสมาบัตินั้น เห็นชัดเจนอยู่ในสมาบัตินั้น ๆ นั่นแล ตามลำดับ ดำเนินไปจนถึง อากิญจัญญายตนะ ต่อจากนั้น กระทำบรพกิจมีการอธิษฐานเป็นต้น แล้วเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯ ข้างหน้าอัปปนาชวนะทั้ง ๒ ของ เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น จิตตสันตติ (ความสืบต่อแห่งจิต) ก็ ขาดลง ๆ ต่อจากนั้น ท่านชื่อว่าเป็นผู้เข้านิโรธแล้วฯ ก็แลในเวลา ออก สำหรับพระอนาคามี อานาคามิผลจิต และสำหรับพระอรหันต์ อรหัตตผลจิต เป็นไปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็เป็นภวังคบาต (จิตตก ภวังค์) เทียวฯ ต่อจากนั้น ปัจจเวกขณญาณทั้งหลาย ย่อมเป็นไป ฉะนี้แล ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More