ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 57
เพราะอรรถว่า มีอากาศไม่มีที่สุดเป็นที่เกิดฯ กุศลจิตที่สัมปยุตด้วย
อากาสานัญจาตนฌานนั้น ชื่อว่าอากาสานัญจายตนกุศลจิต ฯ
[วิเคราะห์วิญญาณณัญจายตฌาน]
วิญญาณนั่นแล ไม่มีที่สุด ชื่อว่า วิญญาณานันตะ ได้แก่อรูป
วิญญาณที่ ๑ ฯ แท้จริง ปฐมอรูปวิญญาณนั้น แม้มีความเกิดเป็นต้น
เป็นที่สุด บัณฑิตก็เรียกว่า อนันตะ เพราะเป็นไปในอากาศไม่มีที่สุด
และเพราะภาวนาที่ปรารภตนเป็นไปไม่ถือเอาที่สุดมีความเกิดเป็นต้น
เป็นไป ด้วยอำนาจการแผ่ไปโดยไม่มีที่สุดฯ วิญญาณานันตะนั่นแล
ชื่อว่า วิญญาณัญจะ เพราะกระทำการรัสสะ อา อักษร และลบ น
อักษร ฯ อนึ่ง วิญญาณอันบุคคลพึงถึง คือพึงบรรลุด้วยอรูปวิญญาณ
ที่ ๒ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า วิญญาณัญจะ ๆ วิญญาณัญจะนั้นนั่นแล
เป็นที่เกิดแห่งอรูปฌานที่ ๒ เพราะเป็นที่ตั้ง เหตุนั้น จึงชื่อว่า วิญญา
ณัญจายนะ ฯ คำที่เหลือเหมือนกับคำที่มีในก่อน ฯ
[วิเคราะห์อากิญจัญญายตนฌาน
ปฐมอรูป (วิญญาน) นั้น ไม่มีอะไร ๆ นิดหน่อย คืออะไร ๆ
สักเล็กน้อย โดยที่สุดแม้มาตรว่า ภังคะที่เหลือ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า อกิญจนะฯ ภาวะแห่งอภิญจนะนั้น ชื่อว่า อากิญจัญญะ ได้แก่
ความไม่มีแห่งอรูปวิญญาณที่ ๑ ๑ ฯ คำว่า ตเทว อายตน์ เป็นอาทิ
เหมือนกับคำก่อนฯ