ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 101
ในบางครั้งก็ไม่เกิดรวมกัน เพราะมุ่งถึงความเกิดแห่งอารมณ์ของตน
กล่าวคือวัตถุที่วิรัติจะพึงก้าวล่วง เพราะฉ
เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงได้กล่าว
คำว่า วิสฺ วิสุ ดังนี้ ฯ
อัปปมัญญาที่ถึงอัปปนา ย่อมไม่มีความเป็นไปอันปราศจากโสมนัส
ในกาลบางคราวเลย เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ปญฺจมชฺฌา
นวชฺชิมหคฺคตติตฺเตสุ ฯ จิตที่ชื่อว่ามหัคคตะ ด้วยอรรถว่า ถึงความ
เป็นใหญ่ เพราะเป็นจิตปลอดจากนิวรณ์เป็นต้น หรืออันผู้ได้ฌานซึ่ง
เป็นผู้ใหญ่ถึงแล้ว คือบรรลุแล้วฯ
สองบทว่า นานา หุตฺวา ความว่า อัปปมัญญา ย่อมเป็นต่าง ๆ กัน
โดยเพ่งถึงความประสบสัตว์ผู้ได้รับทุกข์ หรือได้รับสุขที่เป็นอารมณ์
ของตน เพราะกรุณาและมุทิตามีอารมณ์แตกต่างกันฯ
บทว่า เอตฺถ หมายเอาบรรดากามาวจรจิตเหล่านี้ ฯ การบริกรรม
แม้ด้วยจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขา ด้วยอำนาจความเคยชินในกาลก่อน
แต่วิถีแห่งอัปปนา ย่อมมีได้ในเวลาเจริญกรุณาและมุทิตา ดุจคนผู้สวด
คัมภีร์ที่ชำนาญแล้ว บางครั้ง แม้จะส่งจิตที่ไปในอารมณ์อื่นก็ยังสวดได้
อนึ่ง ดุจบุคคลผู้พิจารณาสังขารด้วยวิปัสสนาที่ชำนาญแล้ว บางครั้ง
พิจารณาได้แม้ด้วยจิตที่ปราศจากญาณ ด้วยกำลังแห่งความเคยชิน เพราะ
ฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกระทำวาทะที่ว่า กรุณาและมุทิตาไม่เกิดในกามา
วจรจิตที่สหรคตด้วยอุบกขาว่า เป็นวาทะของอาจารย์บางพวกฯ แต่พึ่ง
เห็นกรุณาและมุทิตาเหล่านั้นเกิดได้ เฉพาะในกามาวจรจิต ที่สหรคตด้วย
โสมนัสโดยส่วนเดียวในวิถีแห่งอัปปนา เพราะอาเสวนปัจจัยไม่มีแม้แก่จิต