อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 284 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 284
หน้าที่ 284 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงรูปธรรมจำแนกตามลักษณะต่าง ๆ เช่น อเหตุกะ, สปัจจยะ, สาสวะ และอัชฌัตติกรูป พร้อมการอธิบายเกี่ยวกับการเข้าใจในธรรมชาติของรูปตามหลักอภิธัมมะ โดยเน้นบทบาทของอารมณ์และการอิงอาศัยของจิตในการปฏิบัติจริงในชีวิต ผู้เรียนจะได้ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติสืบเนื่องจากความรู้ในอภิธัมมะนี้.

หัวข้อประเด็น

- รูปธรรมและอรูปธรรม
- การแยกประเภทของรูป
- อุปการะของรูปในฐานะที่เป็นอัตภาพ
- ความสำคัญของจิตในอภิธัมมะ
- การนำไปใช้ในชีวิตจริง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 284 ที่แสดงไว้แล้ว ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สพฺพญ ปเนต ดังนี้ ฯ 1 l รูปที่ชื่อว่าอเหตุกะ เพราะไม่มีเหตุมือโลภะเป็นต้น ที่สัมปยุต ที่ชื่อว่าสปัจจยะ เพราะมีปัจจัยตามที่เป็นของตน ฯ ที่ชื่อว่าสาสวะ เพราะประกอบด้วยอาสวะมีกามาสวะเป็นต้น ที่ปรารภตนเป็นไป ที่ชื่อว่าสังขตะ เพราะถูกปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่ง ฯ ที่ชื่ ที่ชื่อว่าโลกิยะ เพราะเกี่ยวข้องในโลก กล่าวคืออุปาทานขันธ์ ฯ ที่ชื่อว่ากามาวจร เพราะเป็นแดนที่กามตัณหาท่องเที่ยวไป ฯ ที่ชื่อว่าอนารัมมณะ เพราะ อรรถว่า ไม่มีอารมณ์ เพราะไม่ถือเอาอารมณ์อะไร ๆ เหมือนพวก อรูปธรรม ฯ ที่ชื่อว่าอัปปหาตัพพะ เพราะไม่เป็นของจำต้องละด้วย อิติ ศัพท์ ซึ่งมีปการเป็นอรรถนั้น ท่านอนุรุทธาจารย์สงเคราะห์ เอกวิธนัยทั้งหมดมีนัยว่า อพฺยากต์ เป็นต้น ๆ ที่ชื่อว่าอัชฌัตติกรูป เพราะ พิง คืออิงอาศัยตน กล่าวคืออัตภาพเป็นไป ฯ รูปธรรม แม้เหล่าอื่น ซึ่งมีอยู่ในภายในก็จริง ถึงอย่างนั้น รูปมีจักขุเป็นต้น เท่านั้น ชื่อว่าอัชฌัตติกรูป ด้วยสามารถแห่งการหมายความตามนิยม ฯ อีกอย่างหนึ่ง รูปมีจักขุเป็นต้นนั้นแล ชื่อว่าอัชฌัตติกรูป เพราะมี อุปการะอย่างดียิ่งแก่อัตภาพโดยพิเศษ เป็นเหมือนพูดว่า ถ้าพวก เราไม่มี ท่านก็จักเป็นเหมือนท่อนไม้ ๆ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัชฌัตตะ เพราะอรรถว่า อิงอาศัยจิต กล่าวคือตนเป็นไป โดยความเป็นทวาร แห่งจิตนั้น ๆ อัชฌัตตะนั้นนั่นแล ชื่อว่าอัชฌัตติกะ 1 รูป ๒๓
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More