อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 237
หน้าที่ 237 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้สำรวจการทำงานของอกุศลกรรมและผลที่เกิดขึ้นในชีวิต โดยใช้กรณีศึกษาต่าง ๆ เช่น การพบเจอพระมหาโมคคัลลานเถระ รวมถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับการผลกรรมที่เกิดจากอกุศลกรรมและการอธิบายอำนาจของกุศลกรรมในชีวิต มีการยกตัวอย่างความเกี่ยวข้องระหว่างวิบากและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเกิดของวิบากวิญญาณ

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมาวตาร
-อธิบายอกุศลกรรม
-ผลกระทบของกรรม
-วิบากวิญญาณ
-ความสัมพันธ์ระหว่างกุศลกรรมและอกุศลกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 237 ข้าพเจ้ามิได้กล่าวไว้ในวรรณนาน ๆ คำนั้น ๆ ทั้งหมด บัณฑิตพึง ทราบตามนัยที่อาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้แล้ว ในปกรณ์ชื่อปรมัตถมัญ ชุสาเป็นต้น และโดยพิเศษ ในฎีกาแห่งอภิธัมมาวตาร ชื่ออภิมัตถ ปกาสินี ฯ [อธิบายอกุศลกรรมจะอำนวยผลที่น่าใคร่ไม่ได้เป็นต้น] สองบทว่า สพฺพตฺถาปิ กามโลเก ความว่า (อกุศลกรรมทั้ง หมด ๑๒ อย่าง ให้อกุศลวิบากทั้ง ๒ ได้) ในกามโลกแม้ทั้งหมด "ด้วยอำนาจสุคติและทุคติ ฯ บทว่า ยถาห์ แปลว่า ตามสมควรแก่ ทวารและอาลัมพนะ ฯ วิบากวิญญาณอันใด มีมหาสมบัติเป็น อารมณ์เกิดแก่พวกนาคแบะครุฑเป็นต้น แม้ในอบายทั้งหลายก็ดี วิบาก วิญญาณอันใด เกิดแก่พวกสัตว์นรก เพราะเหตุที่ได้พบเห็นพระมหา โมคคัลลานเถระเป็นต้นก็ดี วิบากวิญญาณทั้ง ๒ นั้น เป็นผลแห่งกุศล กรรมอย่างเดียว ฯ เพราะผลที่ปรารถนาของอกุศลกรรมเกิดมีไม่ได้ ฉะนี้แล ฯ ข้อนี้สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่อกุศลกรรมจะมีผลน่าปรารถนา น่าใคร่ ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส " ฯ เพราะฉะนั้น กุศลกรรมจึงยังอเหตุกวิบากให้เกิดขึ้น แม้ในอบายทั้งหลาย และยังอเหตุกวิบากเหล่านั้น อันมีรูปเป็นต้น เป็นวิสัย ให้สำเร็จตามสมควร (แก่ทวารและอาลัมพนะ) แม้ในรูปโลก เพราะไม่มีความเกิดแห่งอเหตุกวิบาก ด้วยรูปาวจรกรรม เหตุไม่มีวิบาก ที่เป็นไปในภูมิอื่น แก่กรรมที่เป็นไปในภูมิอื่น และเหตุที่ภาวนาอัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More