อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้า 325 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 325
หน้าที่ 325 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงกลไกของจิตประเภทต่างๆ รวมถึงโทมนัสและวิถีแห่งมรรคที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติไปยังสุคติและนิพพาน โดยอธิบายองค์แห่งมรรคอย่างละเอียด เช่น สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวายามะ, และสัมมาสมาธิ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาจิตใจให้ถูกต้องและมีนา้มสู่การหลุดพ้นจากทุกข์และทุคติ ข้าพเจ้าได้ชี้แจงถึงการใช้โอวาทที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตเพื่อการเจริญเติบโตทางธรรมชาติของจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-องค์แห่งมรรค
-สัมมาทิฏฐิ
-การเจริญทางธรรม
-การหลุดพ้นจากทุกข์
-การปฏิบัติที่ถูกต้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 325 เหล่านี้ โทมนัส เป็นอกุศลฌานังคะ ที่เหลือมีวิตกเป็นต้น เป็นฌานังคะ ที่เป็นกุศลอกุศลและอัพยากฤต ฯ ભૈ ชื่อว่ามรรค เพราะทำให้บุคคลมุ่งหน้าตรงไปถึงสุคติ ทุคติ และ นิพพาน องค์ที่เป็นทางแห่งมรรคเหล่านั้น หรือองค์แห่งอัฏฐังคิกมรรค ชื่อว่ามัคคังคะ ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะอรรถว่า เห็นถูก คือไม่ผิด (เห็นโดยชอบ คือโดยไม่วิปริต) ฯ ก็สัมมาทิฏฐินั้นมี อย่าง ด้วยอำนาจแห่งนัยเป็นต้นว่า ผลทานที่ให้แล้วมี หรือมี 4 อย่าง ด้วยอำนาจแห่งกิจมีการกำหนดรู้เป็นต้นฯ สภาพที่ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องดำริชอบฯ ความดำริชอบนั้นมี ๓ อย่าง ๑๐ ด้วยอำนาจดำริในการออกจากกาม ดำริในการไม่พยาบาท และดำริใน การไม่เบียดเบียนฯ การเจรจาชอบเป็นต้น ข้าพเจ้าได้ชี้แจงไว้แล้ว ในหนหลังนั้นแลฯ สภาพที่ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่า เป็น เครื่องพยายามชอบฯ ที่ชื่อเป็นสัมมาสติ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง ระลึกชอบ ฯ ก็ท่านอาจารย์จักกล่าวประเภทแห่งสัมมาสังกัปปะเป็นต้น เหล่านี้ข้างหน้าฯ สภาพที่ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่า เป็น เหตุตั้งมั่นแห่งจิตโดยชอบและโดยสม่ำเสมอ ฯ เอกัคคตามี ๕ อย่าง ด้วย อำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้นฯ มิจฉาทิฏฐิเป็นต้น ชื่อว่ามัคคังคะ เพราะเป็นองค์คือทางแห่งทุคติ ฯ [อธิบายอินทรีย์และพละ] ธรรมทั้งหลายที่ทำจักขุวิญญาณเป็นต้นให้เป็นไปตามตน ในกิจ มีการเห็นเป็นต้น ทำเพศเป็นต้นให้เป็นไปตามตน ในเวลาเป็นไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More