ข้อความต้นฉบับในหน้า
બ
က
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 270
อีกอย่างหนึ่ง ภูตรูป ชื่อว่าเป็นรูปใหญ่ เพราะมีความปรากฏ
ใหญ่ และชื่อว่าเป็นภูต เพราะอรรถว่า เป็นที่มีอุปาทายรูปอาศัย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามหาภูตฯ รูปที่อาศัยมหาภูตเป็นไป ชื่อว่า
อุปาทายรูปฯ มีคำท้วงว่า "ถ้าเช่นนั้น มหาภูตแต่ละอย่าง ๆ ย่อม
เป็นที่อาศัยของมหาภูตที่เหลือ เพราะพระบาลีมีอาทิว่า "มหาภูตทั้ง ๑
อาศัยมหาภูตอย่างหนึ่ง" ดังนี้ เพราะฉะนั้น มหาภูตที่เหลือแม้เหล่า
นั้นก็จะต้องไปพ้องกับอุปาทายรูปเข้า " ฯ แก้ว่า ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่าง
ที่ท่านกล่าวนั้น เพราะรูปที่เพียงอาศัยเป็นไปสำเร็จ ชื่อว่าอุปาทายรูป
นั้น ๆ จริงอยู่ รูปที่อาศัยเพียงมหาภูต และตนเองถูกมหาภูตอื่นอาศัย
นั้น ไม่ชื่อว่าอุปาทายรูป ๆ แต่รูปที่อาศัยอย่างเดียว (และตนเอง)
ไม่ถูกรูปอะไร ๆ อาศัยนั้นแล ชื่อว่าอุปาทายรูป เพราะฉะนั้น ภูตรูป
ทั้งหลายจึงไม่มีความพ้องกันกับชื่ออุปาทายรูปนั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง
ลักษณะของอุปาทายรูป (มี) เพราะคำว่า รูปอาศัยมหาภูตรูป ๔
ชื่ออุปาทายรูป ดังนี้ เพราะฉะนั้น พวกภูตรูปที่อาศัยภูต ๓ เป็นไป
จึงไม่ได้ชื่อว่าอุปาทายรูป ฉะนี้แล ฯ
[อธิบายธาตุ ๔]
(ธาตุ) ชื่อว่าปฐวี เพราะอรรถว่า เป็นที่รองรับ ฯ ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า ย่อมปรากฏ คือเข้าไปตั้งอยู่โดยเป็นที่อาศัยของรูปที่เกิด
ร่วมกัน เหมือนปฐพีปกติเป็นไปที่อาศัยของต้นไม้และภูเขาเป็นต้นฯ
ชื่อว่าปฐวีธาตุ ด้วยอรรถว่า เป็นธาตุ เพราะทรงลักษณะของตนไว้
เป็นต้น เพราะอรรถว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีพ และเพราะเป็นเช่นกับ