อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 299 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 299
หน้าที่ 299 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจเกี่ยวกับกลาปและสัตว์ตามที่เสนอในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยมีการอธิบายถึงความสอดคล้องของแต่ละประเภทของสัตว์ที่มีภาวรูปและอายตนะในบริบทของการเกิดและปฏิสนธิกาล โดยยกตัวอย่างกลาปและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดเกิดขึ้นในสัตว์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงสัตว์ที่เกิดในสุคติและการบกพร่องของอินทรีย์ในบริบทของอภิธัมมัตถศึกษานี้.

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาอภิธัมมัตถสังคหบาลี
-กลาปในอภิธรรม
-การเกิดของสัตว์
-อายตนะและภาวรูป
-ความผิดในสัตว์ประเภทต่าง ๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 299 ถามว่า ก็กลาป ๒๑ เหล่านี้ แม้ทั้งหมด ย่อมมีได้ในทุก ๆ หมวด หรือว่าบางกลาปมีได้ในบางหมวด ดังนี้ ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวคำว่า ตตฺถ เป็นต้น ฯ บัดนี้ เพื่อจะแสดงประวัติแห่งรูปตามที่กล่าวแล้วเหล่านั้น (หรือ แห่งกลาปเหล่านั้น) ด้วยสามารถแห่งความเกิด ด้วยสามารถแห่งปวัติ กาลและปฏิสนธิกาล และด้วยสามารถแห่งกำเนิด ท่านอาจารย์จึงได้ กล่าวคำว่า สพฺพานิปิ ปเนตานิ เป็นอาทิ ฯ บทว่า ยถาห์ ความว่า โดยสมควรแก่สัตว์ผู้มีภาวรูปและ อายตนะบริบูรณ์ ฯ พวกสัตว์ที่เกิดในที่หมักหมม มีดอกบัว, มลทินครรภ์ แห่งกุมารเป็นต้น ชื่อว่าสังเสทชะ ฯ เหล่าสัตว์ที่ชื่อว่าอุปปาติกะ เพราะ อรรถว่า ความผิดเกิดขึ้นมีแก่สัตว์เหล่านั้น ๆ ก็ในคำว่า อุปปาติกะ นี้ ท่านถือเอาความผิดเกิดขึ้นอันพิเศษ ด้วยสามารถกำหนดคติอย่างสูง ดุจ อุทาหรณ์ในประโยคว่า อภิรูปสฺส กญฺญา ทาตพฺพา (พึงยกนางสาวให้ แก่บุรุษผู้มีรูปสวย) ฯ คำว่า ๓ ทสกะย่อมปรากฏ ดังนี้ ท่านอาจารย์กล่าว ไว้ เพราะ ๓ ทสกะมีได้ โดยความเป็นสัตว์มีอายตนะบริบูรณ์ ฯ คำว่า กทาจิ น ลพฺภนฺติปิ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้บอดแต่ กำเนิด ผู้หนวกแต่กำเนิด ผู้ไม่มีฆานะแต่กำเนิด กะเทย และสัตว์ผู้ เกิดในต้นกัลป์ ฯ บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า บรรดาสัตว์เหล่านั้น พวกอุปปาติกะที่บังเกิดในสุคติ ด้วยกรรมมีอานุภาพมาก ไม่ได้จักขุ โสตะ และฆานะ เพราะประกอบด้วยความบกพร่องแห่งอินทรีย์ ฯ เหล่าสังเสทชสัตว์ ไม่ได้ภาวรูป ด้วยสามารถแห่งอุปปาติกะผู้เกิดใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More