ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 36
วิญญาณในจักขุ เพราะอาศัยอยู่ในจักษุนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขุ
วิญญาณ ฯ สมจริงตามคำว่าที่ท่านกล่าวไว้ว่า วิญญาณนี้ มีความรู้แจ้ง
รูปที่อาศัยจักขุเป็นลักษณะ ฯ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้น บัณฑิตพึงทราบ
วิเคราะห์เป็นต้นตามสมควร ด้วยประการอย่างนี้ ฯ ด้วยบทว่า ตถา นี้
ท่านอาจารย์ย่อมแสดงความเป็นจิตที่สหรคตด้วยอุเบกขาฯ
[วิเคราะห์โสตะเป็นต้น]
ธรรมชาติที่ชื่อว่าโสตะ เพราะอรรถว่า ธรรมชาติเป็นที่ตั้งแห่ง
วิญญาณฟัง ฯ ธรรมชาติที่ชื่อว่าฆานะ เพราะอรรถว่า สูด คือทำการ
รับกลิ่นฯ รสที่เป็นเหตุแห่งความเป็นอยู่ ชื่อว่าชีวิต ฯ ธรรมชาติ
ที่ท่านเรียกชื่อว่าชิวหา โดยนิรุตตินับ เพราะอรรถว่า เรียกร้องชีวิตไว้
เพราะน้อมไปในชีวิตนั้น ๆ
ชื่อว่ากาย เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิด คือสถานที่เป็นที่เป็น
ไปแห่งบาปธรรมที่น่าเกลียด ๆ จริงอยู่ กายินทรีย์เป็นเหตุอันพิเศษ
แห่งบาปธรรม ทั้งที่เป็นไปในอำนาจแห่งความยินดีโผฏฐัพพารมณ์นั้น
ทั้งที่มีกายประสาทนั้นเป็นมูล เพราะมีอันยึดถือโผฏฐัพพะเป็นสภาพ
เพราะฉะนั้น กายินทรีย์ บัณฑิตจึงถือเอาเหมือนฐานที่เป็นไปแห่ง
บาปธรรมเหล่านั้น ๆ อีกอย่างหนึ่ง กายพร้อมทั้งสัมภาระ ชื่อว่ากาย
เพราะอรรถว่า เป็นบ่อเกิดแห่งส่วนที่น่าเกลียด มีผมเป็นต้นฯ ถึงแม้
ปสาทกาย ท่านก็เรียกอย่างนั้น (เรียกว่ากายเหมือนกัน) เพราะ
เป็นไปร่วมกันกับกายพร้อมทั้งสัมภาระนั้น ๆ
ๆ
ธรรมชาติที่ชื่อว่าทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นของน่าเกลียด