ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 277
ใจครองตลอดหมดฯ สภาพที่ชื่อว่ากวฬิงการาหาร เพราะอรรถว่า อัน
บุคคลทำให้เป็นคำแล้วจึงกลืนกิน ๆ ก็คำว่า กวฬิงการาหารนี้ ท่าน
อาจารย์กล่าวไว้ เพื่อจะแสดงอาหารทำให้เป็นไปกับด้วยของอันเป็นที่อยู่
แห่งโอชะ ๆ แต่โอชะอันเป็นยางแห่งอาหารที่จะพึงกลืนกิน กล่าวคือ
ความแล่นไปแห่งรสที่แล่นไปทั่วอวัยวะทั้งสิ้น เป็นเหตุอุดหนุนร่างกาย
ทั้งอินทรีย์ ชื่อว่าอาหารรูป ในอธิการแห่งรูปนี้ ๆ จริงอย่างนั้น
อาหารรูปนี้ มีความเป็นเหตุอุดหนุนร่างกายทั้งอินทรีย์เป็นลักษณะบ้าง
มีการนำรูปมีโอชะเป็นที่ 8 มาเป็นลักษณะบ้าง ฯ
รูปที่ชื่อว่าสภาวรูป เพราะหาได้ (มีได้) โดยสภาพของตน ๆ
มีความเป็นของแข็งเป็นต้น ๆ ที่ชื่อว่าสลักขณรูป เพราะอรรถว่า
ประกอบด้วยลักษณะทั้งหลายมีความเกิดเป็นต้น หรือมีความไม่เที่ยง
เป็นต้น ฯ ที่ชื่อว่านิปผันนรูป เพราะเป็นรูปสำเร็จจากปัจจัยมีกรรม
สภาพคือความแปรผัน ชื่อว่ารูปฯ แม้ธรรมชาติประกอบด้วยรูปนั้น ก็
ชื่อว่ารูป ดุจอุทาหรณ์ในประโยคว่า คนประกอบด้วยโรคริดสีดวง ชื่อว่า
มีโรคริดสีดวง ดอกอุบล แม้ประกอบด้วยกลีบเขียว ก็ชื่อว่าอุบลเขียวฯ
รูปศัพท์นี้นั้น ย่อมเป็นไปในสิ่งที่ไม่มีสภาพคือความแปรผันนั้น ตาม
ความที่นิยมกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวให้แปลกออกไป โดยเพิ่ม
รูปศัพท์หนึ่งว่า รูปรูป ดังนี้ เหมือนคำว่า ทุกขทุกข์ ฉะนั้น ๆ ที่ชื่อ
ว่าสัมมสนรูป เพราะควรเพื่อพิจารณาโดยยกขึ้นสู่ลักษณะ ๓ เพราะ
ล่วงภาวะแห่งปริเฉทรูปเป็นต้นแล้ว มีอยู่ตามสภาพนั้นแล ฯ ประเทศ
က
બૈ