อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - บทที่ 167 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 167
หน้าที่ 167 / 442

สรุปเนื้อหา

บทที่ 167 ของอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา นำเสนอการวิเคราะห์อัปปนาวิถีและการทำงานของจิตในบริบทต่างๆ ซึ่งรวมถึงการเกิดและลำดับของจิตที่สัมพันธ์กับการฝึกสมาธิ โดยกล่าวถึงการเกิดของอัปปนาในบุคคลที่มีสติปัญญาและลำดับการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับจิตที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการแยกแยะประเภทของชวนะและอัปปนา รวมถึงความสำคัญในการรักษาจิตให้อยู่ในภวังค์เพื่อให้บรรลุถึงผลทางธรรมที่สูงขึ้น

หัวข้อประเด็น

-อัปปนา
-ชวนะ
-อภิธรรม
-การฝึกสมาธิ
-วิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยคส - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 167 อนุโลม ๒ หรือ ๓ ดวงข้างต้น แม้โดยไม่แปลกกัน ๆ จริงอยู่ มี อธิบายว่า ๔ ครั้ง หรือเพียง ๓ ครั้ง โดยควรแก่อัปปนาที่จะพึง เกิดเป็นดวงที่ ๕ หรือที่ ๔ ฯ เพื่อแสดงวาระที่ได้อยู่แก่ชื่อ มีบริกรรม เป็นต้นโดยไม่เหลือเศษ ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำว่า 4 ครั้ง ไว้ในเบื้อง ต้น ๆ กล่าวคำว่า ที่ ๕ ไว้ในที่สุด ด้วยสามารถลำดับการคำนวณ ฯ บทว่า อถารห์ คือ ตามสมควรแก่บุคคลผู้เป็นขิปปาภิญญา และทันธาภิญญาฯ จริงอยู่ อัปปนาจิตที่ 4 เกิดแก่ขิปปาภิญญาบุคคล ในลำดับแห่งกามาวจรชวนะเป็นไป ๓ ครั้งฯ อัปปนาเกิดที่ ๕ แก่ ทันธาภิญญาบุคคล ในลำดับแห่งชวนะเป็นไป 4 ครั้ง ฯ จึงเห็นสันนิษ ฐานว่า ก็เพราะอนุโลมไม่ได้การเสพคุ้น จึงไม่อาจจะให้โคตรภูเกิด ขึ้นได้ และชวนะที่ ๖ และที่ ๒ แม้ที่ได้การเสพคุ้น ก็ไม่อาจตั้งอยู่ ได้ด้วยอำนาจอัปปนา เพราะเป็นชวนะใกล้ต่อภวังค์ เหมือนบุรุษผู้อยู่ ใกล้เหวฉะนั้น ๆ เพราะฉะนั้น อัปปนาจะมีต่ำกว่าชวนะที่ 4 หรือ สูงกว่าชวนะที่ ๕ ไม่ได้ฯ ન [อธิบายอัปปนาวิถี] บทว่า ยถาภินีหารวเสน คือ ตามสมควรแก่การนำจิตไปใน สมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนา อันสมควรแก่รูปอรูปและโลกุตตระ ซึ่งเป็นมรรคผล ฯ วิวถีแห่งอัปปนา ชื่อว่าอัปปนาวิถีฯ เมื่อท่านอาจารย์ กล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ต่อจากนั้น จิตก็เป็นเหมือนตกภวังค์ ชนทั้งหลาย จะพึงถือเอาว่า ต่อจากอัปปนาหยั่งลงสู่ชวนะที่ ๔ หรือที่ ๕ แล้ว จิตจึงเป็นเหมือนตกภวังค์ ผลจิตในลำดับแห่งมรรค และฌานผลจิตใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More