อธิบายเกี่ยวกับจิตอเหตุกะและอุเบกขา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 40
หน้าที่ 40 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับจิตอเหตุกะ และอุเบกขาที่เกี่ยวข้องกับวิบากทางจิต ภายในบริบทของอภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกิริยาที่รูปและอารมณ์ รวมถึงว่าจิตที่มีอุเบกขานั้นไม่มีการผูกพันกับสัมปยุตเหตุ และแสดงให้เห็นว่าเพราะเหตุใดบางจิตจึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นกุศลวิบาก ขอบเขตนี้ยังบรรยายถึงการกระทำและภูตที่มีความหมายแก่การศึกษาอย่างละเอียด โดยเชื่อมโยงกับหลักการแห่งปัจจัยที่สร้างความแตกต่างของจิตสำนึกและผลของมันในทางปฏิบัติในการพัฒนาจิต.

หัวข้อประเด็น

-อเหตุกะจิต
-กุศลวิบาก
-อุเบกขา
-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-จิตและอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 40 จริง แต่ในอาวัชชนะทั้ง ๒ นั้น ควงต้นย่อมเป็นไปคราวเดียวเท่านั้น ในอารมณ์ อันจิตอะไร ๆ ไม่ได้จับแล้วในเบื้องต้น แม้ดวงหลังก็มี ความเพ่งกิจอื่น ด้วยอำนาจแห่งอันเวียนมาแห่งจิตสันดานอันไม่เหมือน กัน เหตุฉะนั้น จึงไม่อาจเสวยรสแห่งอารมณ์โดยประการทั้งปวง เพราะ ฉะนั้น จึงสัมปยุตด้วยอุเบกขาเวทนาเท่านั้น ๆ ก็ในอธิการนี้มีคาถา แสดงความย่อต่อไปนี้ :- เพราะกิริยาที่รูปอาศัยภูตซึ่งมีวัตถุและ อารมณ์เป็นสภาพ กระทบกัน ทุรพล ฉะนั้น จิต ๔ มีจักขุเป็นต้น จึงสัมปยุตด้วยอุเบกขา ฯ ส่วนวิญญาณที่เกิดทางกายไม่มีอุเบกขา ฯ เวทนา เพราะกิริยาที่ภูตรูป เป็นที่อาศัยแห่ง กายประสาท และโผฏฐัพพะกระทบกันมี กำลัง ฯ เพราะอนันตรปัจจัยไม่มีปัจจัยที่อาศัย เสมอกัน ฉะนั้น สัมปฏิจฉันนะจึงทุรพล ประกอบด้วยอุเบกขาในอารมณ์ ฯ จิตที่ชื่อว่าเป็นอเหตุกะ เพราะเว้นจากสัมปยุตเหตุ เป็นวิบาก แห่งกุศล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ากุศลวิบากอเหตุกจิต ฯ ก็กุศลวิบาก อเหตุกจิตเหล่านี้ แม้สำเร็จด้วยอำนาจแห่งเหตุที่ยังตนให้เกิดขึ้น ก็ ย่อมได้บัญญัติว่า อเหตุกะ ด้วยอำนาจแห่งสัมปยุตนั่นแหละ เพราะนอกจากนี้ จิตเหล่านี้ไม่มีความต่างกันจากมหาวิบากจิต ฯ ก็ เหตุไร ในอธิการนี้ ในนิคมน์แห่งอกุศลวิบาก ท่านจึงไม่ทำอเหตุก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More