ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 329
ผัสสาหารย่อมนำเวทนา ๓ มา ฯ กุศลกรรมและอกุศลกรรม กล่าวคือ
มโนสัญเจตนาหาร ย่อมนำปฏิสนธิในภพทั้ง ๘
ง ๓ ฯ ปฏิสนธิวิญญาณ
กล่าวคือวิญญาณหาร ย่อมนำมารูปที่เกิดร่วมกันมา ฯ มีธรรมแม้
เหล่าอื่น (มีเวทนาเป็นต้น) นำปัจจัยที่เกิดขึ้นของตน ๆ มา แม้ก็จริง
ถึงอย่างนั้น ธรรมเหล่านี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า อาหาร 4
เพราะความสงบภายในเป็นปัจจัยพิเศษฯ แท้จริง กวฬิการาหารเป็นปัจจัย
พิเศษแก่รูปกายของเหล่าสัตว์ผู้กินกวฬิการาหาร เพราะรูปกายนั้นแม้อัน
ปัจจัยมีกรรมเป็นต้นให้เกิดแล้ว ก็มีความเป็นไปตลอด ๑๐ ปีเป็นต้นได้
ન
โดยกำลังค้ำจุนแห่งกวฬิการาหารนั่นเอง ฯ จริงอย่างนั้น กวฬิการาหาร
นี้ ท่านอาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า เหมือนพี่เลี้ยงประคบประหงมเด็ก
และเหมือนยนต์ค้ำเรือนฯ แม้ผัสสะเมื่อถูกต้องอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
เวทนามีสุขเวทนาเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อความตั้งอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย
โดยความเป็นไปแห่งเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้น ฯ มโนสัญเจตนาประมวล
มาด้วยอำนาจแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั่นแล ย่อมเป็นปัจจัยเพื่อความ
ตั้งอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพราะยังมูลแห่งภพให้สำเร็จ ฯ วิญญาณที่รู้แจ้งอยู่
เท่านั้น ย่อมเป็นปัจจัยแก่ความยังของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นไป
แห่งนามรูป เพราะฉะนั้นธรรมเหล่านี้นั่นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า
อาหาร เพราะเป็นปัจจัยพิเศษแก่สันดารอันเป็นไปภายใน ด้วยประการ
ฉะนี้ ความที่ธรรมมีผัสสะเป็นต้น เป็นที่ ๒ เป็นต้น ตรัสไว้โดยลำดับ
แห่งเทศนา มิใช่โดยลำดับแห่งการเกิด ฯ
ท่านอาจารย์ทำไว้ในใจซึ่งเนื้อความนี้ว่า อุเบกขา สุข และทุกข์