ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 392
ของที่มีกับของที่มีอยู่ด้วยกัน) เพราะจักขุประสาท และจักขุวิญญาณ
อาศัยจักษุประสาทนั้นมีอยู่ ฯ บัญญัติว่าพระโอรสของพระราชา ชื่อว่า
อวิชชามาเนนาวิชชมานบัญญัติ (บัญญัติของที่ไม่มีกับของที่ไม่มีด้วยกัน)
เพราะพระราชาและพระโอรสเป็นสมมติธรรม (ธรรมคือสมมติ) ฯ
[อธิบายสังคาถา]
บทว่า วจีโฆสานุสาเรน ความว่า เนื้อความทั้งหลายที่ต่างด้วย
อำนาจแห่งสมมติและปรมัตถ์ อันเป็นโคจร คือเป็นอารมณ์แห่งมโน-
ทวาร คือแห่งความสืบต่อของวิญญาณ อันเป็นไปทางมโนทวาร ซึ่ง
เป็นไปแล้วโดยอาการคือรู้จักนามบัญญัติ มีความสังเกตอันบุคคลถือเอา
แล้วในกาลก่อนว่า คำนี้เป็นชื่อแห่งเนื้อความเช่นนี้ เป็นอุปนิสัยซึ่งเกิด
ขึ้นในลำดับแต่ความเป็นไปแห่งโสตวิญญาณวิถี ที่เป็นไปตามกระแส
คือไปตามเสียงที่พูด มีแผ่นดิน ภูเขา รูป และเวทนาเป็นต้น คือโดย
ทำให้เป็นอาลัมพนะ อันบัณฑิตย่อมรู้โดยกระแสความ คือเป็นไปตาม
ซึ่งนามบัญญัติอันใด ที่มีสมมติและปรมัตถ์เป็นอารมณ์พ้นจากการถือเอา
ซึ่งนามนั้น ๆ นามบัญญัติอันนี้นั้น คือที่แสดงอรรถอันบัณฑิตพึงบัญญัติ
มีแผ่นดิน ภูเขา รูป และเวทนาเป็นต้น ซึ่งบัณฑิตหมายความ
สังเกตของโลก คือสำเร็จตามโวหารโลก เป็นระเบียบของอักษรที่ถือ
เอาแล้วทางมโนทวาร อันบัณฑิตรู้แจ้งว่าบัญญัติ คือรู้ได้ว่า นามบัญญัติ
กล่าวคือปัญญาปนโตบัญญัติฯ
ก็ในคาถานี้ ท่านอาจารย์สงเคราะห์แม้ซึ่งมโนทวาริกวิถี อันมี