การศึกษาอภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 336
หน้าที่ 336 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงพระธรรมที่เกี่ยวข้องกับขันธ์และอุปาทานขันธ์ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี โดยเปรียบเทียบขันธ์กับโภชนะ เช่นกับข้าวที่ถูกปรุงแต่งเพื่อให้เกิดความพึงพอใจ การเข้าใจขันธ์ที่เป็นอารมณ์แก่อุปาทานสำคัญในการศึกษา ธรรมที่มีอาสวะและไม่มีอาสวะถูกนำเสนอเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในการวิปัสสนาและความเข้าใจในธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมและขันธ์
-อุปาทานขันธ์
-การแสดงธรรม
-วิปัสสนา
-การตีความธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 336 คล้ายกับโภชนะ เพราะเป็นของจะพึงกิน ฯ สัญญาตั้งอยู่ในฐานะคล้าย กับกับข้าว เพราะเป็นเหตุแห่งการได้อัสสาทะด้วยเวทนาฯ สังขาร ตั้งอยู่ในฐานะเหมือนพ่อครัว เพราะปรุงแต่ง คือเพราะยวนใจให้ยินดี วิญญาณตั้งอยู่ในฐานะเหมือนผู้บริโภค เพราะเข้าไปบริโภค (อารมณ์) ฯ ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ สำเร็จความที่ประสงค์แล้ว เพราะฉะนั้น พระผู้ มีพระภาคจึงตรัสขันธ์ไว้เพียง ๕ เท่านั้น ฯ นี้แลเป็นเหตุแม้ในลำดับ แห่งเทศนา (การแสดง) เพราะทรงมีพระประสงค์จะแสดงตามลำดับ แห่งภาชนะ โภชนะ พยัญชนะ ภุญชกะ และภุญชิตา (ที่กินข้าว กับข้าว พ่อครัว และผู้กิน) ฯ [อธิบายอุปทานขันธ์] ขันธ์ที่เป็นอารมณ์แก่อุปาทาน ชื่อว่าอุปาทานขันธ์ แต่ ขันธ์มีรูปเป็นต้นนั้น ที่ทรงถือเอาโดยความเป็นอารมณ์แห่งอุปาทาน มี ๕ เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำว่า รูปูปาทากุ- ขนฺโธ เป็นอาทิ ฯ จริงอยู่ เพื่อสงเคราะห์ธรรมที่มีส่วนเหมือนกัน ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ธรรมมีอาสวะทั้งไม่มีอาสวะ พระผู้มีพระภาค ก็ทรงแสดงว่า ปัญจขันธ์ โดยไม่ต่างกัน ๆ แต่เพื่อแสดงธรรม ที่เป็นภูมิแห่งวิปัสสนา ธรรมที่มีอาสวะเท่านั้น ทรงแสดงว่าอุปาทาน ขันธ์ ฯ เหมือนอย่างว่า บรรดาธรรมมีรูปเป็นต้นนี้ ธรรมมีเวทนา เป็นต้น มีอาสวะก็มี ไม่มีอาสวะก็มีฉันใด รูปจะเป็นฉันนั้นหามิได้ เพราะเป็นกามาวจรอย่างเดียวๆ แต่บัณฑิตพึงเห็นรูปนั้นที่ทรงแสดง ไว้ในขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งราสีของธรรมที่มีส่วนเหมือนกัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More