ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 28
เพราะสัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นนั่นแล เป็นธรรมไม่ทั่วไป
จริงอยู่ แม้เจริตกธรรมบางเหล่ามีผัสสะเป็นต้น ทั่วไปแก่จิตทุกดวง
บางเหล่าก็ทั่วไปกุศลจิตเป็นต้น ส่วนเจตสิกมีโมหะเป็นต้น ทั่วไป
แก่อกุศลจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงไม่อาจให้จิตพิเศษ
ด้วยเจตสิกธรรมมีผัสสะเป็นต้นฯ ส่วนสัมปยุตธรรม มีโสมนัส
เป็นต้น ย่อมมีในจิตบางดวง ย่อมไม่มีในจิตบางดวง เพราะฉะนั้น
ความพิเศษแห่งจิตปรากฏชัดทีเดียว ด้วยสามารถแห่งสัมปยุตธรรม
มีโสมนัสเป็นต้นนั้น ฯ ถามว่า เพราะเหตุไร สัมปยุตธรรมมีโสมนัส
เป็นต้นเหล่านี้ จึงมีในจิตบางดวง ไม่มีในจิตบางดวงฯ เฉลยว่า
เพราะความตั้งลงและไม่ตั้งลงแห่งเหตุ (เพราะความปรากฏและไม่
ปรากฏแห่งธาตุ) ฯ ถามว่า ก็อะไรเป็นเหตุแห่งสัมปยุตธรรมมีโสมนัส
เป็นต้นนั้น ฯ ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป ฯ อันที่จริง อารมณ์ที่น่าปรารถนา
โดยสภาพบ้าง โดยปริกัปบ้าง ความสัตว์มีปฏิสนธิประกอบด้วย
โสมนัส และความที่จิตมีสภาพไม่ลึก เป็นเหตุแห่งโสมนัส ในอธิการ
แห่งอกุศลจิตนี้ ฯ อิฏฐมัชฌัตตารมณ์ ความที่สัตว์ถือปฏิสนธิประกอบ
ด้วยอุเบกขา และความที่จิตมีสภาพลึกซึ้งเป็นเหตุแห่งอุเบกขาฯ การ
คบบุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติ และความเป็นผู้มีสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ
เป็นเจ้าเรือน เป็นเหตุแห่งทิฏฐิ ฯ ส่วนปัจจัยมีฤดูและโภชนะที่สบาย
มีกำลังเป็นต้น เป็นเหตุแห่งความเป็นอสังขาริก เพราะเหตุฉะนี้
สัมปยุตธรรมมีโสมนัสเป็นต้นนั้น จึงเกิดขึ้นโดยสามารถแห่งเหตุอัน
สมควรแก่ตน ฉะนั้น จึงเกิดเฉพาะในจิตบางดวง เพราะเหตุนั้น