อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 78 อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 78
หน้าที่ 78 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้านี้เน้นการวิเคราะห์ธรรม ๑๘ กับโลภะ มานะ และการสงเคราะห์ในอสังขาริกจิตที่ ๔ รวมถึงธรรม ๒๐ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับอกุศลจิตต่าง ๆ ที่มีการประกอบด้วยอาการ ๓ ประการ และสรุปการส่งเสริมในด้านจิตที่สหรคตด้วยอารมณ์ที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับอภิธรรม และวิธีการแยกแยะจิตที่หลากหลายให้ชัดเจนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ

หัวข้อประเด็น

-อภิธัมมัตถสังคหบาลี
-อสังขาริกจิต
-การประกอบของจิต
-ศาสตร์อภิธรรม
-อารมณ์และสถานะของจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 78 ที่ ๓ อย่างนั้นเหมือนกันฯ ธรรม ๑๘ กับโลภะและมานะ ถึงการ สงเคราะห์เข้าในอสังขาริกจิตที่ 4 เหมือนกัน ฯ ก็ธรรม ๒๐ เหล่านั้น นั่นแล เว้นปีติ กับธรรม ๔ คือ โทสะ ๑ อิสสา ๑ มัจฉริยะ ๑ กุกกุจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์เข้าในอสังขาริกจิตที่ ๕ ซึ่งประกอบด้วย ปฏิฆะ ฯ ส่วนอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ บัณฑิตพึงแยกประกอบ ในอกุศลจิตเหล่านี้เฉพาะดวงหนึ่ง ๆ ๆ แม้ในสสังขาริกจิต ๕ หมวด บัณฑิตที่พึงประกอบให้แปลออกไปด้วยนะ และมิทธะ อย่างนั้น เหมือนกันฯ ก็ธรรม ๑๕ คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ เว้นฉันทะและปีติ และอกุศลสาธารณเจตสิก ๔ ย่อมประกอบเข้าได้ในจิตที่สหรคตด้วย อุทธัจจะ ฯ และธรรม ๑๕ ประกอบด้วยวิจิกิจฉา เว้นอธิโมกข์ ย่อม ได้ในจิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาอย่างนั้นเหมือนกันฯ แม้ธรรมทั้งหลาย ที่ท่านประกอบไว้ในอกุศลจิตตุปบาท ๑๒ เฉพาะดวงหนึ่ง ๆ แม้โดย ประการทั้งปวง ก็เป็นอันท่านประมวลเข้าโดยอาการ ๓ อย่างด้วยกัน ด้วยอำนาจแห่งการคำนวณ ฉะนี้และ ฯ [สังคหคาถา] ธรรมทั้งหลาย คือ ๑๕-๑๘-๒๐-๒๑-๒๐- ๒๒ และ ๑๕ ตั้งอยู่ในอกุศลจิตโดยอาการ ๓ อย่าง ฯ ธรรม ๑๔ เหล่านี้ คือ สาธารณ เจตสิก ๔ และอัญญสมานาเจตสิกอีก ๑๐ ท่าน เรียกว่า มีการประกอบในอกุศลจิตทั้งปวง ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More