ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 181
ได้กล่าวคำมีอาทิว่า ทวิเหตุกานมเหตุกานญฺจ ดังนี้ ๆ ที่ชื่อว่าทวิ
เหตุกะ เพราะอรรถว่า ชนเหล่านี้มีเหตุ ๒ คือ อโลภะ และ อโทสะ
ที่สหรคตด้วยปฏิสนธิวิญญาณ ฯ ที่ชื่อว่าอเหตุกะ เพราะไม่มีเหตุเช่น
นั้น ฯ ม อักษรที่การต่อบท ฯ อัปปนาชวนะย่อมไม่ได้ เพราะมี
เครื่องกั้นคือวิบาก ๆ จริงอยู่ ปฏิสนธิของบุคคลผู้มีเหตุ ๒ และไม่มี
เหตุ บัณฑิตเรียกว่า เครื่องกั้นคือวิบาก ๆ เพราะไม่มีอัปปนาชวนะ
นั่นเอง พระอรหัตตผลจึงไม่มี เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กิริยาชวนะ ฯ
ตทาลัมพนะมีเหตุ ๒ ด้วยกรรมต่างกัน ย่อมเกิดมีแม้แก่ผู้ไม่มีเหตุ
เพราะพระบาลีว่า ภวังค์ที่มีเหตุ เป็นปัจจัยโดยอนันตรปัจจัยแก่ภวังค์ที่
ไม่มีเหตุ ๓ ไม่มีแก่ผู้มีเหตุ ๒ และไม่มีเหตุแม้ทั้ง ๒ แต่ตทาลัมพนะ
มีเหตุ ๓ ไม่มีแก่ผู้มีเหตุ ๒ และไม่มีเหตุแม้เหตุ ๒ ฯ เพราะปฏิสนธิ
เดิมอ่อนแอ เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ตถา ญาณสมฺปยุตต
วิปากานิ จ (อนึ่ง วิบากที่ประกอบด้วยญาณก็ไม่ได้สุคติภูมิเหมือน
อย่างนั้น ) ดังนี้ ฯ
အ
ด
ส่วนท่านอาจารย์โชติปาลเถระกล่าว (ว่า) ตทาลัพนะมีเหตุ ๓
(มี) แม้แก่พวกอเหตุกสัตว์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยไม่
แปลกกันว่า ภวังค์มีเหตุ ดังนี้เป็นต้น แล้วกล่าวไว้ในอธิการแสดงจิตที่
ควรเว้นแก่คนทั้งหลายนี้อย่างน่าหัวเราะเยาะคำที่กล่าวถึงความไม่มีวิบาก
ที่ประกอบด้วยญาณว่า "ผู้ที่แต่คำนั้นจะต้องถูกถามแน่นอน" ฯ แต่คำ
นั้น แม้ท่านจะกล่าวไว้อย่างน่าหัวเราะเยาะ ก็ตั้งอยู่ประหนึ่งเป็นคำที่ท่าน
กล่าวไว้ เพื่อให้ถามอาจารย์เสียก่อนจึงจะรู้ได้ฯ สมจริงตามเหตุที่ท่าน