อภิธัมมัตถสังคหบาลี: ความหมายและอาการของมานะและโทสะ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 88
หน้าที่ 88 / 442

สรุปเนื้อหา

ในอภิธัมมัตถสังคหบาลี กล่าวถึงความแตกต่างระหว่างญาณและทิฏฐิ โดยญาณรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง ในขณะที่ทิฏฐิละสภาพที่ไม่มีจริง การมีมานะนั้นแสดงถึงการสำคัญตัวเอง ในขณะที่โทสะก็มีลักษณะของการประทุษร้าย ส่วนอิสสิขาและมัจฉริยะมีความริษยาและการอยากครอบครองที่ชัดเจน นอกจากนี้ การทำกรรมกุกกตะซึ่งรวมถึงการกระทำที่ทุจริตหรือสุจริตที่ไม่ได้กระทำก็เป็นประเด็นที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดความเศร้าโศกต่อผลจากการกระทำในอดีต โดยเนื้อหานี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างระหว่างญาณและทิฏฐิ
-ลักษณะของมานะ
-ลักษณะของโทสะ
-อาการของอิสสาและมัจฉริยะ
-กรรมและผลของกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 88 ญาณและทิฏฐินี้ มีความต่างกันอย่างนี้ คือ ญาณรู้อารมณ์ได้ตามสภาพ ที่เป็นจริง ทิฏฐิละสภาพตามที่จริง ถือเอาโดยสภาพที่ไม่มีจริงๆ ที่ชื่อว่ามานะ เพราะอรรถว่า สำคัญโดยตรงอาการเป็นต้นว่า เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าฯ มานะนั้น มีความพองขึ้นเป็นลักษณะ ฯ จริงอย่างนั้น มานะนี้ท่านอาจารย์กล่าวว่า มีความอยากเป็นดุจธงเป็น เหตุปรากฏ ฯ ที่ชื่อว่าโทสะ เพราะอรรถว่า ประทุษร้ายฯ โทสะนี้ มีความ ดุร้ายลักษณะ เหมือนอสรพิษที่ถูกตีฯ ที่ชื่อว่าอิสสา เพราะอรรถ ว่า ริษยา อิสสานั้น มีความริษยาต่อสมบัติของคนอื่นเป็นลักษณะ ฯ ภาวะแห่งความตระหนี่ ชื่อว่ามัจฉริยะ ๆ อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่ เป็นไปโดยอาการว่า ความอัศจรรย์นี้ จงอย่างมีแก่ชนเหล่าอื่น (ความ อัศจรรย์นี้) จงมีแก่เราเท่านั้น ชื่อว่ามัจฉริยะ ๆ มัจฉริยะนั้น มีการ ปกปิดสมบัติของตนเป็นลักษณะ ฯ ๆ ชนทั้งหลายย่อมพูดกันว่า กรรมที่ชื่อว่ากุกกตะ เพราะอรรถว่า บุคคลทำอย่างน่าเกลียด ได้แก่ทุจริตที่กระทำแล้วและสุจริตที่มิได้กระทำฯ แท้จริง กรรมแม้ที่ มิได้กระทำ ชนทั้งหลายก็เรียกว่า กุกกตะ ชนทั้งหลา กรรมที่ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำ ชื่อว่ากุกกตะ ฯ แต่ในอธิการแห่งอกุล เจตสิกนี้ วิปปฏิสารจิตตุปบาทที่ปรารภกรรมที่ตนกระทำแล้วและมิได้ กระทำเกิดขึ้น ชื่อว่ากุกกตะ ฯ ภาวะแห่งกุกกตะนั้น ชื่อว่ากุกกุจจะ ๆ กุกกุจจะนั้น มีความเศร้าโศกถึงทุจริตที่ตนกระทำแล้ว และสุจริตที่ ไม่ได้กระทำเป็นลักษณะ ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More