ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 263
วิญญัติทั้ง ๒ เกิดจากจิตอย่างเดียวๆ เสียงเกิดจากจิตและฤดูฯ
รูป ๓ มีลหุตาเป็นต้น ย่อมเกิดจากฤดู จิต และอาหาร ฯ อวินิพโภค
รูป ๓ และอากาศธาตุ เกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ฯ ลักขณรูป ย่อมไม่
เกิดจากสมุฏฐานแม้ไหน ๆ เลย ฉะนี้ ฯ
[สังคหคาถา]
รูปเกิดแต่กรรม จิต ฤดู และอาหารมีตาม
ลำดับ คือกัมมชรูป ๑๘ จิตตชรูป ๑๕
อุตุชรูป ๑๓ อาหารชรูป ๑๒ ฯ พระผู้มี
พระภาคทรงประกาศแล้วว่า ลักขณรูป ๔
ย่อมไม่เกิดจากสมุฏฐาน (หรือปัจจัย)
ไหน ๆ เลย เพราะเป็นสภาพแห่งรูปที่เกิด
อยู่เป็นต้นอย่างเดียว ฯ
นี้เป็นนัยแห่งรู)สมุฏฐานในรูปสังคหะนี้ ฯ
[กลาปโยชนา]
กลาป ๒๑ ประการ มีความเป็นไปร่วมกัน เกิดที่เดียวกัน
ดับที่เดียวกัน และมีที่อาศัยอันเดียวกัน ชื่อว่ารูปกลาป (หมวดรูป)ฯ
บรรดากลาปเหล่านั้น ชีวิตรูปและอวินิพโภครูป พร้อมกับจักขุ
ท่านเรียกว่าจักขุทสกะ ฯ อนึ่ง พึงประกอบตามลำดับ ดังนี้ คือ ชีวิต
รูป และอวินิพโภครูป พร้อมกับโสตะเป็นต้น ท่านเรียกว่าโสตทสกะ
ฆานทสกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ อิตถีภาวทสกะ ปุริสภาวทสกะ
และวัตถุทสกะ ฯ
เฉพาะอวินิพโภครูป พร้อมกับชีวิต ท่านเรียกว่าชีวิตนวกะ