ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 142
และอารมณ์มีนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในก่อนนั่นแล ฯ วิญญาณ ๖
คือ จักขุวิญญาณ ๑ โสตวิญญาณ ๑ ฆานวิญญาณ ๑ ชิวหาวิญญาณ ๑
กายวิญญาณ ๑ มโนวิญญาณ ๑ ฯ ส่วนวิถี 5 คือ จิตตปวัติที่เป็นไป
ตามทวาร จึงประกอบด้วยอำนาจแห่งทวาร คือ จักขุทวารวิถี ๑
โสตทวารวิถี ๑ ฆานทวารวิถี ๑ ชิวหาทาวารวิถี ๑ กายทวารวิถี ๑
มโนทวารวิถี ๑ หรือด้วยอำนาจแห่งวิญญาณ คือ จักขุวิญญาณวิถี ๑
โสตวิญญาณวิถี ๑ ฆานวิญญาณวิถี ๑ ชิวหาวิญญาณวิถี ๑ กาย-
วิญญาณวิถี ๑ มโนวิญญาณวิถี ๑ ฯ พังทราบวิสัยสวัติ 5 ประการ
คือ ในปัญจทวารมี ๔ คือ อติมหันตะ ๑ มหันตะ ๑ ปริตตะ ๑
อติปริตตะ ๑ แต่ในมโนทวารมี ๒ คือ วิภูตะ ๑ อวิภูตะ ๑ ๆ
คืออย่างไร ? คือ ๓ ขณะด้วยอำนาจอุปปาทขณะ ซิติขณะ และ
ภังคะขณะ ชื่อว่าขณะจิต ๑ ฯ ที่ ๑๓ ขณะ
ขณะจิตเหล่านั้น เป็นอายุของ
รูปธรรมฯ อารมณ์ทั้ง ๕ ผ่านไปได้ ๑ ขณะจิต หรือผ่านไปได้หลาย
ขณะจิต เฉพาะที่ถึงฐิติขณะเท่านั้น ย่อมมาสู่คลองในปัญจทวาร ฯ
เพราะฉะนั้น ถ้าว่ารูปารมณ์ล่วงไปได้ขณะจิต ๑ ชื่อว่ามาสู่คลองจักษุ ฯ
ต่อจากนั้น เมื่อภังคจิตไหว ๒ ครั้ง ปัญจทวารวัชชนจิตตัดกระแส
ภวังค์รำพึงรูปารมณ์นั้นนั่นแลเกิดขึ้นแล้วดับไป ฯ ต่อจากนั้น
(จิตเหล่านี้) คือ จักขุวิญญาณ เห็นรูปนั้นนั่นแหละในลำดับแห่ง
มโนทวาราวัชชนจิตนั้น สัมปฏิจฉันนจิตรับรูปนั้น สันตีรณจิตพิจารณา
รูปนั้น และโวฏฐัพพนจิตกำหนดรูปนั้นเกิดขึ้นตามลำดับแล้วด้วยไป ฯ
ต่อจากนั้น บรรดากามาวจรชวนะ ๒๕ ชวนะใดชวนะหนึ่งได้ปัจจัยแล้ว
แล่นไปโดยมาก ๒ ครั้งฯ และตทาลัมพนวิบากทั้ง ๒ ติดตามชวนะ