โทมนัสและปฏิฆะในอภิธัมม์ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 31
หน้าที่ 31 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความหมายและลักษณะของโทมนัสและปฏิฆะ ซึ่งเป็นธรรมที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และจิตในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อธิบายถึงแง่มุมต่าง ๆ เช่น วิจิกิจฉา อุทธัจจะ และความสัมพันธ์ของพวกมันต่ออารมณ์และสภาวะจิต. นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดโทมนัสและปฏิฆะ การรับรู้ของบัณฑิตเกี่ยวกับอดีตและอนาคตของจิตที่พัวพันกับอารมณ์รุนแรง.

หัวข้อประเด็น

-โทมนัส
-ปฏิฆะ
-เวทนา
-จิต
-อารมณ์
-อภิธัมม์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 31 ก็ความแปลกกันแห่งโทมนัสและปฏิฆะนี้ อย่างนี้คือ บรรดา โทมนัสและปฏิฆะนี้ โทมนัส ได้แก่ธรรมอย่างหนึ่ง นับเนื่องใน เวทนาขันธ์ มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ปฏิฆะ ได้แก่ธรรม อย่างหนึ่ง นับเนื่องในสังขารขันธ์ มีความดุร้ายเป็นสภาพฯ ก็แล บัณฑิตพึงเห็นว่า บรรดาโทมนัสและปฏิฆะนี้ อนิฏฐารมณ์อย่างใด อย่างหนึ่ง และอาฆาตวัตถุ ๘ อย่าง เป็นเหตุแห่งโทมนัส และเป็น เหตุแห่งปฏิฆะ ฯ อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความเกิดขึ้นแห่งจิต ๒ ดวงนี้ ในเวลาที่เป็นไปกล้าและอ่อน ในอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาตเป็นต้น ฯ บัณฑิตพึงเห็นอรรถแห่ง ปิ ศัพท์ แม้ในนิคมคาถานี้ โดยทำนองแห่ง นัยตามที่กล่าวแล้วฯ [อธิบายจิตประกอบด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะเป็นต้น] ธรรมชาติที่ชื่อว่าวิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้บุคคล ตัดสินสภาวธรรมยาก คือลำบาก อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าวิจิกิจฉา เพราะอรรถว่า ธรรมชาตินี้หมดการเยียวยา คือใช้ญาณ (สามัญ) แก้ เพราะยากที่จะรักษาฯ จิตที่ประกอบด้วยวิจิกิจฉานั้น ชื่อว่า วิจิกิจฉาสัมปยุต ฯ ภาวะแห่งจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุทธัจจะ ฯ แม้เมื่ออุทธัจจะเป็น เจตสิกทั่วไปแก่อกุศลจิตทั้งปวง อุทธัจจะย่อมเป็นประธานเป็นไปใน สัมปยุตธรรมทั้งหลาย ในจิตนี้ เพราะฉะนั้น จิตนี้เท่านั้น ท่าน อาจารย์กล่าวให้แปลกออกไปด้วยอุทธัจจะนั้น ๆ ก็เพราะอธิกายอย่างนี้ ในธัมมุทเทสบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอุทธัจจะไว้ในอกุศลที่ เหลือด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม ส่วนในจิตดวงที่สุดนี้ พระผู้มี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More