ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 34
จิตที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศลจิต ชื่อว่าอกุศล ดุจชนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อ
มิตร ชื่ออบัตร ฉะนั้น ๆ อนึ่ง พึงทราบความเป็นคู่ปรับกันโดยความ
ที่กุศลเป็นผู้ละ อกุศลเป็นสิ่งมีควรละตามลำดับ ฯ คำว่า อฏฺฐธา
เป็นต้น เป็นคาถาแสดงความย่อ ๆ ความว่า โลภะนั้นด้วย ชื่อว่าเป็น
มูลด้วย เพราะเป็นเช่นกับด้วยรากเหง้าของต้นไม้โดยให้ความที่สัมปยุต
ธรรมตั้งอยู่ด้วยดีสำเร็จ โลภมูลนั้น มีอยู่แก่จิตเหล่านี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าโลภมูลจิต มี 4 อย่าง โดยความต่างแห่งเวทนาเป็นต้น,
จิตที่ชื่อว่าโทสมูล ก็เหมือนกัน มี ๒ โดยความต่างแห่งสังขาร, และ
จิตที่ชื่อว่าโมหมูล คือที่เรียกว่า มีโมหะเป็นมูล ด้วยอรรถว่า จิตเหล่านี้
มีโมหะล้วนๆ เท่านั้นเป็นมูล มี ๒ โดยความต่างแห่งสัมประโยค,
อกุศลจิต มี ๑๒ ด้วยประการฉะนี้
อกุศลวรรณนา จบ ฯ
(อธิบายอเหตุกจิต)
ท่านอาจารย์ครั้นจำแนกอกุศลแม้มี ๓ อย่าง โดยความต่างแห่ง
มูล เป็น ๑๒ อย่าง โดยความต่างแห่งธรรมที่ประกอบเป็นต้นอย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงไขอเหตุกจิตทั้งหลาย แม้เมื่ออเหตุกจิต
เหล่านี้มี ๓ อย่าง ด้วยอำนาจอกุศลวิบากเป็นต้น ก็เพื่อจะจำแนก
อกุศลวิบากนั่นแลโดย ๒ ส่วน ด้วยความต่างแห่งที่อาศัยมีจักขุเป็นต้น
และกิจมีสัมปฏิจฉันนกิจเป็นต้น ในลำดับอกุศล จึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า
จักขุวิญญาณ สหรคตด้วยอุเบกขาฯ วินิจฉัยในคำนั้น ดังต่อไปนี้
๑-๑. เฉลยสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๐๕-๖.