คำอธิบายกรรมฐานตามจริต อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 413
หน้าที่ 413 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายกรรมฐานที่เหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคล โดยอาทิ อสุภกรรมฐานที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่มีราคะมาก และอานาปานะซึ่งช่วยคนที่มีโมหะ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงอนุสสติ 5 และกรรมฐานอื่นๆ ที่เหมาะแก่จริตของคนประเภทต่างๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเข้าใจและใช้งานกรรมฐานให้ตรงตามลักษณะของจิตใจของผู้ปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-จริตของบุคคล
-กรรมฐานที่เหมาะสม
-อสุภกรรมฐาน
-อานาปานะ
-อนุสสติ 5
-การพัฒนาจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 413 ลักษณะของตน และโดยสัมภาระมีผมเป็นต้น ชื่อว่าจตุธาตุววัตถานฯ ธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในอารมณ์ที่ไม่มีรูป ชื่อว่าอารุปปา ฯ [อธิบายกรรมฐานที่เหมาะกับจริต ન บัดนี้ เพื่อจะแสดงกรรมฐานที่เหมาะแก่จริตของบุคคลนั้น ๆ ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวคำว่า จติตาสุ ปน ดังนี้เป็นต้น ๆ ก็บุคคลที่ ชื่อว่าราคจริต เพราะอรรถว่า มีราคะเป็นจริต คือเป็นปกติ ได้แก่ บุคคลผู้มีราคะมาก ๆ อสุภกรรมฐาน เป็นสัมปปายะแก่คนราคจริตนั้น เพราะอสุภกรรมฐานเป็นข้าศึกโดยตรงแก่ราคะ ฯ อานาปานะ เป็น สัปปายะแก่คนโมหจริตและวิตกจริต เพราะอานาปานะเป็นปฏิปักษ์ต่อ โมหะ โดยเป็นอารมณ์แห่งความรู้ และเพราะห้ามความวิ่งพล่านแห่ง วิตกได้ ฯ อนุสสติ 5 ข้างต้น มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นสัปปายะ แก่คนสัทธาจริต เพราะเป็นเหตุแห่งความเจริญศรัทธาฯ ความจาย ความสงบ สัญญา และการกำหนด เป็นสัปปายะแก่คนพุทธิจริต เพราะ เป็นวิสัยแห่งความรู้อย่างเดียว เหตุมีภาวะลึกซึ้ง ๆ บทว่า เสสสนิ ได้แก่ กรรมฐาน ๑๐ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งภูตกสิณ ๔ อย่าง กสิณา กาส อาโลกกสิณ และหมวด ๔ แห่งอรูปฯ บทว่า ตตฺถาปิ คือ บรรดากรรมฐาน ๑๐ อย่างเหล่านั้นฯ ดวงกสิณที่กว้าง (ใหญ่) เป็น สัปปายะแก่คนโมหจริต เพราะในโอกาสคับแคบ จิตก็ยิ่งหลงหนักเข้า ฯ ดวงกสิณเล็ก เป็นสัปปายะแก่คนวิตกจริต เพราะอารมณ์ใหญ่เป็นปัจจัย แห่งความวิ่งพล่านของวิตก ฯ คำว่า อสุภ ๑๐ ન્ › นี้ ท่านอาจารย์กล่าวไว้ เพราะเป็นข้าศึกโดยตรง และเพราะเป็นสัปปายะที่ดียิ่ง ๆ จริงอยู่ ขึ้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More