ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 134
ตัณหาคือความโลภจัดเห็นปานนี้เสียได้ ในคันธารมณ์แก่พระขีณาสพ
ผู้ยินดี ในเวลาบูชาพระเจดีย์ด้วยของหอมเป็นต้น ในรสารมณ์แก่
พระขีณาสพผู้ยินดี ในเวลาแจกบิณฑบาตที่สมบูรณ์ด้วยรส แล้ว
ฉันพร้อมกับเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย
ทั้งหลาย ในโผฏฐัพพารมณ์ แก่พระ
ขีณาสพผู้ยินดี ในเวลาบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตร ในธรรมารมณ์แก่
พระขีณาสพผู้ปรารภกามาวจรธรรม ที่ถือเอาด้วยบุพเพนิวาสญาณ
เป็นต้น แล้วยินดีอยู่ฯ ท่านอาจารย์ทำในใจว่า จิต ๒๐ ด้วยอำนาจ
อกุศลจิต ๑๒ และชวนจิตเป็นญาณวิปยุต ๘ ไม่สามารถจะปรารภ
โลกุตตรธรรมเป็นไป เพราะตนเป็นชวนจิตถึงซึ่งความมีอานุภาพเล็ก
น้อย เพราะเหตุนั้น จึงเว้นโลกุตตรธรรม ๕ อย่างเสียแล้ว ปรารภ
อารมณ์มีภูมิ ๒ และบัญญัติเป็นไป ดังนี้ จึงกล่าวว่า อกุสลานิ เจว
เป็นต้น ฯ
[จิตต่างภูมิมีอารมณ์ต่างกัน
พึงทราบสันนิษฐานว่า ก็บรรดาจิต ๒๐ เหล่านี้ จิตตุปบาทที่
ประกอบพร้อมด้วยทิฏฐิ ๔ แต่อกุศลจิต มีกามวจรเป็นอารมณ์ ใน
เวลาปรารภจับต้องยินดี และเพลิดเพลิน กามาวจรธรรม มีมหัคคตะ
เป็นอารมณ์ ในเวลาที่ปรารภมหัคคตธรรม ๒๓ โดยอาการนั้นนั่นแล
เป็นไป มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ในเวลาที่ปรารภสมมติธรรมเป็นไป ฯ
แม้จิตตุปบาทที่ไม่ได้ประกอบด้วยทิฏฐิ ก็มีกามาวจรธรรม มหัคคต
ธรรม และบัญญัติธรรมเป็นอารมณ์ ในเวลาที่ปรารภธรรมเหล่านั้น
นั่นแลเป็นไป ด้วยอำนาจความยินดีและความเพลิดเพลินอย่างเดียว