อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 23
หน้าที่ 23 / 442

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์จิตตามพระอภิธรรม โดยมีการอธิบายถึงประเภทของจิต 4 ประเภท พร้อมกับการวิเคราะห์ความหมายของกามาวจรจิตซึ่งเกี่ยวข้องกับกามภพ การท่องเที่ยวในกามภพถูกอธิบายอย่างละเอียดเพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของจิตในมุมมองของพระอภิธรรม. เนื้อหายังกล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างจิตและกามตัณหาที่ทำให้เกิดความเข้าใจกับแนวความคิดในพระอภิธรรม.

หัวข้อประเด็น

-การวิเคราะห์จิต
-ประเภทของจิต
-กามาวจรจิต
-ความหมายของกาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 23 นิเทศนั้น ดังนี้ว่า ในอรรถแห่งพระอภิธรรมทั้ง ๔ ตามที่ยกขึ้นแสดง ไว้ ข้าพเจ้าจะแสดงจิตก่อน ๆ จิตชื่อว่ามี 4 อย่าง เพราะอรรถว่า มีอย่าง คือประการ ๔ ฯ ก็เพราะธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๔ เหล่านี้ ประณีตขึ้นโดยลำดับ ฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงทำนิเทศแห่งธรรมเหล่านั้น โดยลำดับแห่งธรรมอันเลว ดี ดีกว่า และดีที่สุดฯ [อธิบายกามาวจรจิตเป็นต้น] ન્ ในบทว่า กามาวจริ เป็นต้นนั้น วิเคราะห์ว่า สภาพที่ชื่อว่า กาม เพราะอรรถว่า ยังจิตให้ใคร่ ได้แก่กามตัณหาฯ จิตที่ชื่อว่า กามาวจร เพราะอรรถว่า เป็นที่ท่องเที่ยวแห่งกามตัณหานั้น ด้วยอำนาจ ทำให้เป็นที่ยึดหน่วง ๆ อีกอย่างหนึ่ง สภาพที่ชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า อันจิตใคร่ ได้แก่กามภพ ๑๑ อย่าง ฯ จิตที่ชื่อว่ากามาวจร เพราะอรรถ ว่า ท่องเที่ยวในกามภพนั้นโดยมากฯ ก็จิตนี้ แม้เป็นไปในรูปภพและ อรูปภพ ก็ควรชื่อว่ากามาวจร เพราะท่านประสงค์เอาการเที่ยวไปโดย มากๆ อีกอย่างหนึ่ง กามภพนั่นแหละ ชื่อว่ากามาวจร เพราะอรรถ ว่า เป็นที่ท่องเที่ยวแห่งกาม ฯ จิตแม้เป็นไปในกามาวจรภพนั้น ก็ชื่อว่า กามาวจร โดยออกชื่อภพเป็นที่อาศัย ดุจในประโยค มีอาทิ ว่า "เตียงทั้งหลายย่อมกระทำซึ่งการโห่" ดังนี้ ๆ ไม่ต้องกล่าวให้ พิสดารนัก ๆ ก็ในอธิการนี้ มีคาถาย่อความไว้ ดังนี้ ด. อีกอย่างหนึ่งกามภพนั่นแหละ ชื่อว่ากามฯ กามนั้น ย่อมท่องเที่ยวไปกามภพ (๑๑ อย่าง) นี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่ากามาวจร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More