ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 257
สองบทว่า ตเทว จิตฺติ ความว่า จิตนั้นนั่นแล เป็นไป เพราะถึง
ความเรียกว่าจิตนั้น เพราะภวังคจิตเป็นเช่นเดียวกันกับปฏิสนธิจิตนั้น
เหมือนอย่างในประโยคว่า "โอสถทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล"ฯ สองบท
ว่า "อสติ วีถีจิตตุปฺปาเท" สัมพันธ์ความว่า "เมื่อความเกิดขึ้นแห่งวิถี
จิตในระหว่าง ๆ ไม่มี จิตนั้นนั่นแลเป็นจุติจิต แล้วก็ดับไป " ฯ อธิบาย
ว่า "ปฏิสนธิจิตเป็นต้น ย่อมหมุนเวียนสืบไป จนกระทั่งมูลเหตุของ
วัฏฏะขาดสิ้น "ฯ
[อธิบายความในพระคาถา]
0
ประกอบความว่า "ปฏิสนธิจิต ๑ ภวังคจิต ๑ วิถีจิต ๑ จุติจิต
ย่อมหมุนเวียนในภพนี้ฉันใด ความสืบต่อแห่งจิต (เช่น) นี้มีอาทิ
อย่างนี้ว่า "ปฏิสนธิจิตและภวังคจิต" ย่อมหมุนเวียนในภพอื่นอีก
ฉันนั้น" ฯ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวเนื้อความของบทว่า "ปฏิสนธิ
จิต ภวังคจิต และวิถีจิต" นี้ว่า "ห้วงแห่งปฏิสนธิจิตและภวังคจิต"
โดยอธิบายว่า "เพราะการสงเคราะห์จิตที่พ้นจากวิถีนั้นแล ท่านแสดง
ไว้ในปริเฉทนี้ การสงเคราะห์เฉพาะปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต
ไว้ในปริเฉทที่ ๕ นี้ ชอบแล้ว " ฯ คำนั้นเป็นเพียงมติของเกจิอาจารย์
เหล่านั้น เพราะท่านประสงค์เอานิคมน์แห่งปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิต
และวิถีจิตทั้งหมดนั่นแล ที่ท่านประมวลไว้ในปวัติสงเคราะห์นั้น ในที่
สุดการแสดงปวัติสงเคราะห์ฯ ที่จริงเมื่อเป็นอย่างนั้น การรวมเอาปฏิ
สนธิจิตเป็นต้นนั่นแลเข้าไว้ ด้วย เอต์ ศัพท์ ในคำว่า "ปฏิสังขาย
ปเนตมทธุว์" นี้ ก็จะเกิดขึ้นด้วยดีฯ พวกผู้รู้ คือบัณฑิตใคร่ครวญ