อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - การศึกษากลไกของความเกิดและดับ อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 265
หน้าที่ 265 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาชี้ให้เห็นการประกอบความกลางในอภิธัมมัตถที่มีทสกะหลากหลายเป็นตัวกำหนด และความสำคัญของการเข้าใจลำดับและการลดลงของกลาปในกระบวนการเกิดและดับของชีวิต โดยมีกฎแห่งกรรมและจิตเป็นสมุฏฐานที่สำคัญในทุกช่วงเวลา ในกามโลก การปรากฏของทสกะทั้งหลายจะถูกกล่าวถึง รวมไปถึงการศึกษาความสัมพันธ์ของรูปและจิตในช่วงเวลาต่างๆ ของชีวิต.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของอภิธัมมัตถ
-การประกอบความกลาง
-การปรากฏของทสกะในกามโลก
-กระบวนการเกิดและดับของชีวิต
-กลไกกรรมที่มีผลต่อจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา - หน้าที่ 265 นี้เป็นกลาปโยชนา (การประกอบความกลาง) ในรูปสังคหะนี้ [รูปปวัติกมะ] ๆ ก็รูปเหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมมีได้ในกามโลก ตามสมควร ไม่ บกพร่องในปวัติกาล ฯ แต่ในปฏิสนธิกาล ทสกะ ๓ กล่าวคือจักขุสกะ โสตทสกะ ฆานทสึกะ ชิวหาทสกะ กายทสกะ ภาวทสกะ วัตถุทสกะ ย่อมปรากฏแก่พวกสังเสทชสัตว์ และพวกโอปปาติกสัตว์ด้วยสามารถ แห่งกลาปอย่างสูงฯ แต่ด้วยสามารถแห่งกลาปอย่างต่ำในบางคราว จักขุทสกะ โสตทสกะ ฆานทสกะ และภาวทสกะ ยังไม่มีก็มี ฯ เพราะ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบการลดลงแห่งกลาป ด้วยสามารถแห่งทสกะ เหล่านั้นฯ ส่วนทสกะ ๓ กล่าวคือ กายทสกะ ภาวทสกะ และ วัตถุทสกะ ย่อมปรากฏแก่พวกคัพภเสยยกสัตว์ ฯ แม้บรรดาทสกะ ๓ “นั้น ภาวทสกะ ก็ไม่มีในกาลบางคราว ๆ แต่ในปวัติกาล ต่อจาก ปฏิสนธินั้นไป จักขุทสกะเป็นต้น ย่อมปรากฏตามลำดับฯ ความสืบ ต่อแห่งรูปกลาป ที่มีสมุฏฐาน ๔ คือ มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เริ่มต้น แต่ปฏิสนธิ มีจิตเป็นสมุฏฐาน เริ่มต้นแต่จิตดวงที่ ๒ มีฤดูเป็นสมุฏ ฐาน เริ่มต้นแต่ฐิติกาล และมีอาหารเป็นสมุฏฐาน เริ่มต้นแต่โอชะ แผ่ไป ย่อมเป็นไปในกามโลกไม่ขาดสายตลอดอายุ เหมือนเปลว ประทีป และเหมือนกระแสน้ำ ฉะนี้และ ฯ แต่ในเวลามรณะ กัมมชรูป “ทั้งหลาย ย่อมไม่บังเกิดขึ้นเริ่มต้นแต่ฐิติกาลแห่งจิตดวงที่ ๑) ต่อจาก จุติจิต และกัมมชรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นก่อน เป็นไปตลอดกาล เท่ากับ จุติจิตนั่นเอง แล้วดับไป ฯ ต่อแต่นั้นจิตตชรูป และอาหารชรูป ન્ ๆ ขาดลงฯ และต่อจากนั้น ความสืบเนื่องต่อกันไปแห่งรูปที่มีฤดูเป็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More