การกำหนดกรรมและทวารในอภิธัมมัตถสังคหบาลี อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา หน้า 221
หน้าที่ 221 / 442

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทความนี้กล่าวถึงการกำหนดกรรมและทวาร โดยอธิบายถึงความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างกายกรรมและวจีกรรม กายกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำทางกาย ในขณะที่วจีกรรมเกี่ยวข้องกับการกระทำผ่านคำพูด ตัวอย่างที่นำเสนอ เช่น กายกรรมของคนที่บังคับให้ทำปาณาติบาต และวจีกรรมของคนที่ทำมุสาวาท ทุกอย่างถูกอธิบายเพื่อแสดงถึงความสำคัญในการกำหนดกรรมและทวาร ซึ่งจะไม่มีข้อห้ามเมื่อมองจากมุมมองนี้

หัวข้อประเด็น

-การกำหนดกรรม
-กายกรรม
-วจีกรรม
-อภิธัมมัตถสังคหบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 221 นั้น ๆ เมื่อท่านจะกล่าวเพียงคำว่า "ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้นไม่ควร กำหนดกรรมและทวาร ฯ ก็กรรมที่เป็นไปในกายทวาร ท่านเรียกว่า กายกรรมฯ และทวารที่เป็นทางแห่งความเป็นไปของกายกรรม ท่านเรียกว่า กายทวาร ฯ แต่กายกรรมของคนที่บังคับให้เขาทำ ปาณาติบาตเป็นต้น ด้วยวาจา ย่อมเป็นไปในวิถีทวาร เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรกำหนดกรรมด้วยทวาร, อนึ่ง วจีกรรมของคนที่ทำมุสาวาท เป็นต้น ด้วยกายวิการ ย่อมเป็นไปแม้ในกายทวาร เพราะฉะนั้น แม้ จะกำหนดทวารด้วยกรรมก็ไม่ได้" ฉะนั้น เพื่อจะแสดงการกำหนดโดย ความเป็นไปโดยมาก ท่านอาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า "เพราะความเป็น ๆ ไปโดยมาก" ดังนี้ ฯ แท้จริง กายกรรมย่อมเป็นไปในกายทวารเท่านั้น มาก ในวจีทวารน้อย ๆ เพราะเหตุที่เป็นไปมากในกายทวารอย่าง เดียวนั้น แม้ความเป็นกายกรรมจึงสำเร็จแล้ว (แม้ชื่อว่ากายกรรมจึง สำเร็จ) ดุจพรานป่าเป็นอาทิ มีชื่อว่าพรานป่าเป็นต้นฉะนั้น ๆ อีกประ การหนึ่ง กายกรรมอย่างเดียวย่อมเป็นไปในกายทวาร โดยทวารเท่านั้น นอกนี้ไม่เป็นไป เพราะกายกรรมเป็นไปในกายทวารนี้อย่างเดียวมาก นั้น จึงสำเร็จเป็นทวารแห่งกายกรรม เหมือนบ้านพราหมณ์เป็นอาทิ มีชื่อว่าบ้านพราหมณ์เป็นต้นฉะนั้น เพราะฉะนั้น ในการที่จะกำหนด กรรมและทวาร จึงไม่มีข้อห้ามอะไร นี้เป็นความอธิบายในคำว่า "เพราะความเป็นไปโดยมากนั้น" [อธิบายวจีกรรม] เรื่องที่ไม่เป็นจริง ชื่อว่ามุสา ฯ สภาพที่ชื่อว่ามุสาวาท เพราะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More